ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดกาฬสินธ

Main Article Content

สุภาพร ชมระกา
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
จำเนียร พลหาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยกับประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 220 คนที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับประสิทธิผล การบริหารความเสี่ยง และด้านประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 72 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .64 - .92 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ( Pearson Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) แบบเป็นขั้นตอน


ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้1. ปัจจัยบางประการ ได้แก่ ด้านการติดตาม กำกับ ดูแล และประเมินการบริหารความเสี่ยงของทุกกลุ่มงานอย่างต่อเนื่อง (X5) ด้านวัฒนธรรมองค์กร (X7) และด้านการประสานงานให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจจากทุกหน่วยงาน (X4) ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร (X1) ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (X3) ด้านการพัฒนาบุคลกรในด้านการบริหารความเสี่ยง (X6) และด้านสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (X2) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


2. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ ปัจจัยด้านการติดตาม กำกับ ดูแล และประเมินการบริหารความเสี่ยงของทุกกลุ่มงานอย่างต่อเนื่อง (X5) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร (X7) ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร (X1) และปัจจัยด้านการประสานงานให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจจากทุกหน่วยงาน (X4) มีความสามารถในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 79.80 โดยเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนดิบ และสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้


สมการในรูปคะแนนดิบ
Y/ = .397 + .247 X5 + .334 X7 + .171 X1 + .150 X4


และสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z/Y = .302 Z5 + .335 Z7 + .205 Z1 + .162 Z4 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Akaraborworn, J. and Thumsathid, P. (2009). Risk management. Bangkok: Group Development Public Sector Development Commission.

Krejcie, V. and D.W. Morgan.( 1970.) Educational and Psychological. Measurement.

Muehlbach, D. (2008). Risk management content analysis: Understanding the relationship with continuing education planning. CAPELLA UNIVERSITY.

Thaewatthana, T. (2012). Guide to risk management Srinakharinwirot University (draft), Available from http://dent.swu.ac.th/IQAweb/Riskmanual.pdf, Accessed May 2.

Namwan, T. ( 2005). Administration and Supervision, a preliminary study. 2th Mahasarakham. Department of Educational Administration. Faculty of Education Mahasarakham University,.

The Stock Exchange of Thailand. (1998). The internal audit practices. Bankkok: Bunsiri printing.