ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างพลังอำนาจ และบรรยากาศในองค์การ กับการดำเนินงานโรงเรียนเอกชน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์

Main Article Content

ฐิตารีย์ ภูขามคม
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
พุทธารัตน์ ทะสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาบรรยากาศในองค์การ 4) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโรงเรียน 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเสริมสร้างพลังอำนาจ และบรรยากาศในองค์การ กับการดำเนินงานโรงเรียนเอกชน และ 6) สร้างสมการพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ จำนวน 312 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างพลังอำนาจและบรรยากาศในองค์การกับการดำเนินงานโรงเรียนเอกชน สำหรับผู้บริหารและครู จำนวน 1 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกรายระหว่าง .42 ถึง .87 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ( Pearson Product Moment Correlation)และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้1. ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงเอกบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับด้านการกระตุ้นเชาว์ปัญญา


 2. ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ มีระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านระดับองค์กร ด้านระดับบุคคล และด้านระดับชุมชน


3. บรรยากาศในองค์การตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของผู้ร่วมงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในองค์กร และด้านโครงสร้างองค์กร


4. การดำเนินงานโรงเรียนเอกชน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป


5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างพลังอำนาจ และการดำเนินงานโรงเรียนเอกชน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานโรงเรียนเอกชน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .715 .726 และ .778 ตามลำดับ


6. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การดำเนินงานโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .790 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .790 (P = .000) ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ปรับปรุง R2 adj เท่ากับ .621 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SEest) เท่ากับ .2977 มีความสามารถในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 62.10 โดยเขียนเป็นสมการได้ดังนี้


สมการในรูปคะแนนดิบ
Y/ = 1.215 + .502 XORG + .210 XEMP


สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z/Y = .581 ZORG + .241 ZEMP

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Office of the Basic Education Commission of Thailand, (2550). Ministry of Education. Evaluate. education and Reproductive success. First edition. Bangkok, Pornshunkran Printing.

Office of private education commission Thailand. (2541). Ministry of Education. The private school education. Bangkok: The Teachers Council Printing.

Jungwisan Rattikorn. (2550). Transformational leadership training Student in University. Doctor of Education: Srinakharinwirot University.

Tanpitak Bundit. (2540). The relationship between leadership powerment faithfulness and contentment Of secondary school. Doctor of Education: Srinakharinwirot University.

Satpanlord Ratda. (2545). Organizational climate and commitment to Employees SINO Thailand Engineering and Construction Company Master of Education: Srinakharinwirot University.

Penpacha Chanarat. (2550). The relationship between transformational leader of sale supervisors, work empowerment and organizational commitment as perceived by veterinary drugs and animal feeds sale officers in a private company. Master of Education: Thammasat University

Arawan Pawit. (2550). Transformational Leadership Action Research . Bangkok: Dokya printing.

Pinkorl Tanyaporn. (2553). Relationships between team working and empowerment With quality management of ward as perceived by professional nurses in general hospital of ward as perceived by professional nurses in general hospital in the eastern region, Thailand. Master of Education: Burapha University

Masaveang Sililukbenya. (2550). The relationship between organizational climate and satisfaction Of Roi-Et Subdistrict Administrative Organization. Master of Education, Mahasarakham: Mahasarakham University.

Namyota Savai. (2552). The relationship between organizational climate and enthusiasm of officer Government Savings Bank Regional 11. Master of Education, Mahasarakham: Mahasarakham University.

Pansorn Jantida. (2553). Transformational leadership to effective to the administration in private schools under the Office of Roi-Et Primary Educational Service Area. Master of Education, Mahasarakham: Mahasarakham University.

Bass, Bernard M. And B.J. Avolio. (1993). Full Range Leadership Development: Manual for the Multifactor Leadership Questionnaire. Palo Alto, CA: Mind Garden.

Zimmerman, (2000). Empowerment theory: handbook of community psychology. New York: Academic/Plenum Publishers

Tebbitt, B. V. (1993). Demystifying organizational empowerment. Journal of Nursing Administration.

Gibson, (1995). Organ Behavior Structure Process. USA:McGraw-hill Company.

Haimann, T. & Scott, W. (1974). Management in the Modern Organization (2 nd ed.). Boston:Houghton Mifflin Company.

Halpin and Croft . (1963). “The Organizational Climate of School,” Theory and Research in Administration. New York: Macmillan.