การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สมนึก บุญใหญ่
สุนทร โคตรบรรเทา
สุเทียบ ละอองทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นสองตอนคือตอนที่หนึ่งเป็นการสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลในสี่ด้านคือ 1)การวางแผนกำ ลังคน 2)การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง 3)การพัฒนาบุคลากร และ4)การบำรุงรักษา ตามหลักธรรมาภิบาลในหกหลักคือ 1)หลักนิติธรรม 2)หลักคุณธรรม 3)หลักความโปร่งใส 4)หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ 5)หลักการมีส่วนร่วม และ6)หลักความคุ้มค่า โดยใช้เทคนิคเดลฟาย และตอนที่สองเป็นการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการตอบแบบสอบถามเทคนิคเดลฟายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา 15 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 210 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความเชื่อมั่น (α) ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัย (Range) ค่าควอร์ไทล์ (quartile Range) ค่าพิสัยค่าควอร์ไทล์ (Interquartile Range) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2)รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 775.96 ค่า df = 713 ค่า P = 0.051 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.05 ถือว่าเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับค่า RMSEA = 0.02 มีค่าเข้าใกล้ 0 จึงเป็นค่าที่ดี ค่า GFI = 0.88 ค่า AGFI= 0.78 ถือว่าเป็นค่าที่ใช้ได้ และ CFI = 1.00 ถือเป็นค่าที่ดี


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Buriram Local Administraion. (2007), Document for Seminary Training of Transferred and New Staff in Budget Year 2007. Buriram: Buriram LocalAdministration.

Educational Reform Office.(2oo2). Administration of Educational Service Areas: for Education Quality. Bangkok: Bhap Phim.

Khiewying, Kriangsak. (1999). Human Resource Administration. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Ministry of Education. (2003). Guidelines of Personnel Development as of the Act on Regulations to Government Teachers and Educational

Personnel, B.E. 2547. (2004). Bangkok: Basic Education Commission Office.

Raengsoongnoen, Krit. (2011). Factor Analysis by SPSS and AMDS For Research. Bangkok: SE- Education.

Rangsiyokrit, Saman. (2001). General Knowledge on Personnel Administration. 22 ed., Bangkok: Cinil Service Welfare Printing.

Somtha, Chalermchai. (2004). Administration by Good Governance Principles of School Administrators as Perceived by Teaching Staff in Loei Educational Service Area Office. Thesis, Master of Education, Khon Kaen University.

Thongkham, Suwan. (2002). State of Work Performance as of Good Governance Administration in Schools under Sing Buri Primary Educational Service Area Office. Thesis, Master of Education. Lop Buri: Thep Satri Rajabhat Institute.

Uwanno, Bonornsak.(1999). Construction of Good Governance in Thai Society. Bangkok: Winyuchon Printing.