การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 2) สร้างตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 3) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 และ 4) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้างานวิชาการ ครูหัวหน้างานกิจการนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำนวน 35 โรงเรียน รวม 315 คน ระยะที่ 2 สร้างตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้างานวิชาการ ครูหัวหน้างานกิจการนักเรียน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื่นฐาน จำนวน 38 คน ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้างานวิชาการ ครูหัวหน้างานกิจการนักเรียนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 37 คน และระยะที่ 4 ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบสังเกต และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียงและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 พบว่า มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเรียงลำดับความสำคัญ 3 ลำดับ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ด้านการมีวินัย ด้านความรับผิดชอบ และด้านขยันมุ่งมั่นในการทำงาน
2. ผลการสร้างตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 พบว่า ได้คุณลักษณะอันพึงประสงค์จำนวน 12 ด้าน และมีตัวบ่งชี้ จำนวน 35 ตัวบ่งชี้
3. ผลการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ได้ชุดกิจกรรม 4 ชุด โดยภาพรวมคุณภาพของชุดกิจกรรม มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
4. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน
Downloads
Article Details
References
Basic Education Commission, Office. (2003). Handbook of Scholars in Student Support Network System. Bangkok: The Express Transportation Organization Printing.
Education, Faculty. (2008). Rational and Practice in Organizing Characteristic For Developing Children and Youth’s Desirable Characteristic. Khon Kaen: Faculty of Education, Khon Kaen University.
Education, Ministry. (2003). Handbook for Basic School Administration as Juridical. Bangkok: The Express Transportation and Organization. (ETO).
Education, Ministry. (2008). Core Curriculum of Basic Education 2008. Bangkok: Printing of Agricultural Cooperatives of Thailand Limited.
Kingmingka, Kunapen. (2009). The Development of Students’ Desirable Characteristics, Makkang School, The Office of Udontani Educational Service Area 1. Master of Education Thesis, Udontani: Udontani Rajabhat University.
Krasatong, Soojanee. (2008). Instructional Package for Practicing Theme from Thai Reading for Pratomsuksa 4. Master of Education Thesis. Chonburi: Burapa University.
Naksakoon, Kanjana. (2003). Educational Management. Academic Journal: 123 (October-December 2003), 45-47.
National Economic and Social Development Commission, Office. (2006). The 10th Issue of National Economic and Social Development Plan (2007-2011). Bangkok: The Office of National Economic and Social Development
Commission.
Poo-pat, Pa-doong-chai. (2004). A Comparison of Reliability and Item Discrimination of An English Test Scoring by General Technique as Score Loading from the Test, and Score Loading from the Expert. Master of Education Thesis, Khon Kaen: Khon Kaen University.
Sookmak, Jontana. (n.d.). Teaching Principle. Bangkok: Suan-su-nan-ta Rajabhat University.
Sri-pra-nom, Jakree. (2009). Desirable Characteristic of Common Scout based on Opinion of Level 2 Students in Basic Schools, under the Office of Udontani Educational Service Area 2. Master of Education Thesis, Ubonrachatani: Ubonrachatani Rajabhat University.
Silakote, Samlee. (2010). The Development of Students’ Desirable Characteristic, Ban-sa-ad-jaroen School, the Office of Roi-ed Educational Service Area 3.Master of Education Thesis (Educational Administration), Makasarakam: Mahasarakam Rajabhat University.