การบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในภาคเหนือ (2) ศึกษาปัญหาของการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในภาคเหนือ (3)เสนอแนะแนวทางในการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาเกษตรกรรมสาขาวิชาสัตวศาสตร์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในภาคเหนือ
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารและครูผู้สอนในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือรวม 115 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.958 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการบริหารหลักสูตรตามความคิดเห็นของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก โดยด้านการฝึกงาน อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการนิเทศและการพัฒนาครูผู้สอนอยู่ในระดับน้อยที่สุด และตามความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการจัดครูเข้าสอนอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการนิเทศและการพัฒนาครูผู้สอนอยู่ในระดับน้อยที่สุด (2) ปัญหาของการบริหารหลักสูตร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร พบว่าสถานศึกษามีปัญหาด้านการวางแผนการใช้หลักสูตรมากที่สุดร้อยละ 22.4 และด้านการประเมินผลการเรียนการสอนน้อยที่สุดร้อยละ 4.1 และตามความคิดเห็นของครูผู้สอนพบว่าสถานศึกษามีปัญหาด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุดร้อยละ 29.5 และด้านการประเมินผลการเรียนการสอนน้อยที่สุด ร้อยละ 12.1 (3) ข้อเสนอแนะในการบริหารหลักสูตรคือควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง พัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางด้านสัตวศาสตร์ จัดหลักสูตรฐานสมรรถนะบูรณาการการสอนรายวิชา การเรียนรู้แบบการใช้โครงการเป็นฐานและมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
Downloads
Article Details
References
Anan Ngamsa-ad. (2010). Vocational Knowledge Management Process. http:// sisatblog.wordpress.com/2010/08/07/rr/ 16 January 2013 Bureau of Vocational Education Standards and Qualification. High Vocational Certificate Curriculum 2003: http://bsq2.vec.go.th/course/course.html. 16 January 2013
Hassall, Joyce, Montano, Gonzalez. (2010). The vocational skill priorities of Malaysian and UK students. Asean Review of Accounting Volume: 18 Issue.
Krejcie, Robert V. and Daryle W.Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 3 0(3), 607-608.
Krissada Tamseewan. (2000). The Administration of Vocational Certificate Program in Commerce Curriculum 1995, according to the opinion of teachers who taught in High school, Department of General Education in the Northeast. Thesis, M.Ed. (Vocational Education) Bangkok. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
Noppadol Sutanwanichkul. (2011). The Study of Technology with Vocational Education to support ASEAN Community. Thesis, M.Ed. (Educational Administration) Bangkok. Dhurakij Pundit Univertsity.
Phoonchai Yawirach. (1999). Curriculum Administration of Education Oppourtunity Expansion Schools Affiliated to the office of Thoeng District Primary Education Chiangrai Province. Thesis, M.Ed. (Educational Administration) Chiang Rai Rajabhat University.
Preeyaporn Wonganutraroj. (2003). Academic Administration. Bangkok. Sahamitt Offset.
. (2011). Academic Administration. Bangkok. Pimdee.
R.K. Kagaari, J. (2007). Evaluation of the effects of vocational choice and practical training on students’employability. Journal of European Industrail Training volume: 31 Isue: 6.
Ruji Phusara and Jantranee Sangaunnam. (2002). School Curriculum Management in Bangkok. Bookpoint.
Stasz, C. &Hayward, G. Oh, S. Wright,S. (2004). Outcome and Process in Vocational Learning, Learning and Skills Network.
Weerapan Sittipong. (1997). Technical and Vocational educat.