รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการ บริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ทัศนีย์ แก้วงาม
อนุศักดิ์ เกตุสิริ
อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูผู้สอน ในโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี จำนวน 3 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้วิจัยได้ประมวลจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสรุปสาระสำคัญจากข้อมูลการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มจากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี จำนวน 3 โรงเรียน จากการศึกษาใน ขั้นตอนที่ 1 จัดทำคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบและคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบและคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบ โดยการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 19 คน และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่ม


        ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


        1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ พบว่า ส่วนใหญ่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมระดับมาก โดยด้านที่ยังเป็นปัญหามากที่สุด คืองานวางแผนวิชาการ ส่วนความต้องการมีส่วนร่วม พบว่า คณะกรรมการต้องการมีส่วนร่วมงานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการเรียนการสอน งานการจัดการเรียนการสอน งานวางแผนวิชาการและงานวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ 2. ผลจากการสร้างรูปแบบ พบว่า รูปแบบมี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ กลไกการดำเนินการและวิธีดำเนินการ สำหรับวิธีดำเนินการประกอบด้วย (1) งานวางแผนวิชาการ โดยเน้นการสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองชุมชน เพื่อให้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาและร่วมเป็นทีมงานตรวจสอบและประเมินคุณภาพงานวิชาการของสถานศึกษา (2) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการเรียนการสอน โดยเน้นการเข้ามามีส่วนร่วมจัดบรรยากาศ ปรับปรุงอาคารสถานที่และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกสถานศึกษาและร่วมสะท้อนปัญหาและความต้องการด้านคุณภาพการศึกษา (3) งานการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการระดมทรัพยากร และจัดบรรยากาศทางวิชาการทั้งในและนอกสถานศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย และ (4) งานการวัดผลและประเมินผล โดยเน้นการมีส่วนร่วมให้การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ในการวัดผลประเมินผลการเรียน และร่วมสนับสนุนการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนโดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง ส่วนกลไกการดำเนินการประกอบด้วย (1) กลไกในการกำ กับ โดยคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย คำสั่งและระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ และ (2) กลไกในการส่งเสริม โดยคณะกรรมการส่งเสริมให้สถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการทั้งด้านทรัพยากรการศึกษาและความร่วมมือในด้านต่างๆ 3. ผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านหลักการ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านกลไกการดำเนินการ ด้านวิธีดำเนินการ ด้านการประเมินผล และด้านเงื่อนไขความสำเร็จ โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการกำกับและส่งเสริมให้สถานศึกษาบริหารงานวิชาการ เกี่ยวกับ (1) งานวางแผนวิชาการ(2) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการเรียนการสอน (3) งานการจัดการเรียนการสอน และ (4) งานการวัดและประเมินผล ตามลำดับ สรุปว่ารูปแบบนี้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นขั้นพื้นฐานได้4. ผลการนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Chooladda Kedthong. (2007). Presentation guidelines Academic Administration Small Schools Office of Education Uthaithani. Nakhon Sawan: Thesis Master of Education Program Rajabhat NakhonSawan University

Davidson, W. B. (2003). “The Nature and Dynamics of Community at XYZ High chool.” Dissertation Abstracts International. 42(02): 368

Kamphee Sudthae (2010). Model Development Academic Administration for Small Schools. Thesis: Doctor of Education Rajabhat Mahasarakham University

Mai sukeam (2008). “Attribute of Leadership Promotion transition in Level academy” Journalvittayajan. 107(3): (January 2008) ; 70-73.

Office of the Board Basic Education. (2003). The principals of the National Education Act 2542. Bangkok: Printer Department religion.

Office of Education Council (2010). The essence Education Reform in Second decade (BE 2552 - 2561) From http: //chusak.igetweb.com/ index.php.518285.

Prayad Suksamran. (2012). Model Management Participatory in The Preparation Basic Education Curriculum. Ubon Ratchathani: Doctor of Education ; Ubon Ratchathani Rajabhat University. Retrieved September 21 2013, from http: //www lip.umi.com/dissertations fullcit/1416428.

Suwimon Phoklin (2006). Model Development Cooperation network academic for Development Quality of Education of Small Basic Education. Phitsanulok: Thesis Doctor of Education ; Naresuan University.

Soomsak Donprasid. (2008). Document Assembly The Seminar Subject Management by School-Based Management (School - Based Management: SBM). From http: //www.krupai.net/sbm_ somsahtm.

Theera Runcharuan. (2002). Current State And Problems Management and The basic education of Academy in Thailand. Bangkok: V.T.C. Communication.

Uthai Boonprasurd. (2003). Management academy by School-Based Management. Bangkok: Center textbooks and technical documents Faculty of Education Chulalongkorn University.