การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

เสาวนีย์ แสงใส
อำนาจ ชนะวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบล จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัย 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบล โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบล โดยรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ การสร้างและพัฒนาหลักสูตร และด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2. โปรแกรมการพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบล มีองค์ประกอบของโปรแกรม ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 4) โครงสร้างของโปรแกรม 5) เนื้อหาและสาระสำคัญของโปรแกรม ประกอบด้วย 3 โมดูล ประกอบด้วย (Module) 1 ความรู้ ความสารมารถในการออกแบบการเรียนรู้ โมดูล (Module) 2 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และโมดูล (Module) 3 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เวลาในการพัฒนา 40 ชั่วโมง โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบล มีความเหมาะสมโดยรวมระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้โดยรวมระดับมาก และเป็นประโยชน์โดยรวมระดับมาก สามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบล จังหวัดอุดรธานี


ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบล จังหวัดอุดรธานี ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบล โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก (x̄ =4.10) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติในปัจจุบันที่มากที่สุด คือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร (x̄=4.48) รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (x̄ =4.38) และด้านที่มีระดับการปฏิบัติที่ต่ำที่สุด คือ ด้านความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ (x̄ =3.81) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.51) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีคะแนนสูงสุด คือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร (x̄ =4.60) รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (x̄ =4.57) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (x̄ =4.50) และด้านที่มีระดับต่ำสุดคือ การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ (x̄ =4.38)


2. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบล จังหวัดอุดรธานี 2.1 ผลลำดับความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบล จังหวัดอุดรธานี เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2.2 โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบล จังหวัดอุดรธานีรูปแบบและวิธีการพัฒนา จะใช้วิธีการพัฒนาที่หลากหลายเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการเรียนรู้ที่สึกซึ้งและยั่งยืน เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาสามารถนำไปใช้เป็นหลักการพัฒนาตนเองต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการต่างๆ ที่จะนำมาใช้ดำเนินการพัฒนาตามโปรแกรม ได้แก่ 1) การศึกษาด้วยตนเอง 2) การอบรม 3) การศึกษา ดูงาน และ 4) การปฏิบัติจริง โครงสร้างของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย โครงสร้างและขอบข่ายเนื้อหา รวมระยะเวลา 40 ชั่วโมง ได้แก่ โมดูล (Module) 1 ความรู้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ โมดูล (Module) 2 การวัดและการประเมินผล โมดูล (Module) 3 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อการจัดการเรียนรู้ 2.3 ผลการประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน ต่อคู่มือการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบล พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมระดับมากที่สุด (x̄ =4.55) ความเป็นไปได้โดยรวมระดับมากที่สุด (x̄ =4.38)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล และณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์. (2552). “วิกฤติคุณภาพการศึกษาไทยบนเส้นทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2,” มติชนรายวัน. 7: 12 ; มีนาคม.

ภราดาวิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์. (2553). คุณภาพครูปัจจัยหลักคุณภาพการศึกษา คุณภาพผู้นำจิตวิญญาณคุณภาพครู คุณภาพการศึกษา: การศึกษาเอกชน เพื่ออนาคตที่สดใส. กรุงเทพฯ: สภาการศึกษา คาทอลิก.

สมหวัง มหาวัง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างสมรรถนะครูด้านบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุขฤทัย มาสาซ้าย. (2556). แบบจำลองการพัฒนาสมรรถนะของครูด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุทธินันท์ ภักดีวุฒิ. (2556). การพัฒนาโปรแกรมความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมความรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรวาท ทองบุ. (2550). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ป.4 - 5 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: วัฒนาพาณิชย์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.