รูปแบบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารและครูในการพัฒนารูปแบบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาเป็นการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับกลาง คือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลให้เกิดการนำไปใช้ที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาลเพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ให้เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรที่เหมาะสมและต่อเนื่อง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ความมุ่งหมายการวิจัย1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหา2) เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้หลักธรรมาภิบาลและ3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร พื้นที่ในการวิจัยคือ โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มผู้ร่วมวิจัยคือผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 5 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ซึ่งได้มาด้วยความสมัครใจ จำนวน 8 คน และครูจำนวน 132 คน เครื่องมือมี 2 ประเภทคือ 1)เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนางานได้แก่ คู่มือการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา และตัวชี้วัดความสำ เร็จการดำเนินงานหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์(2) แบบบันทึกผลการปฏิบัติ (3) แบบประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จรูปแบบการใช้หลักธรรมาภิบาล (4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการใช้หลักธรรมาภิบาล และ(5) แบบทดสอบความรู้หลักธรรมาภิบาล
ผลการวิจัย 1. โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดใช้ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า ในสภาพที่พร้อมในการปฏิบัติงาน แต่ยังไม่มีการบริหารจัดการและมีรูปแบบที่เป็นระบบเพียงพอทำให้การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในบางครั้งอาจไม่ได้รับการยอมรับและเกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเท่าที่ควร 2. รูปแบบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ มี 6 กิจกรรม ได้แก่ ศึกษาสภาพปัญหาและกำหนดประเด็นในการพัฒนา สร้างทีมงานและพัฒนาศักยภาพทีมงาน การวางแผนแบบมีส่วนร่วม ดำเนินงานตามแผนและปรับปรุงพัฒนา การประเมินผลและสรุปผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้21 กิจกรรมย่อย 3. เมื่อนำไปทดลองใช้พบว่าหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มีความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้นและครูมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับดี
Downloads
Article Details
References
Association of Secondary School Administrators in Thailand. (2001). New Management Principle: Planning.
Chantarasombat, Chalard. (2003). Building and Development of Community Organization Network for Self-Reliant. Mahasarakam: Center of Learning Network and Promoting the Community Strength and Economic-based, Faculty of Education, Mahasarakam University,
Chantarasombat, Chalard. (2003). Nonformula Education Management. Mahasarakam:
Concluded Lesson. (2012). Entering Suwannaphumpittayapaisan School Sub-district, Suwannaphum District, Roi-et Province. Roi-ed: 10th September 2012, Department of Educational Administration. (2010). Faculty of Education, Mahasarakam University,
Klinubon, Rattakon. (2008). Factors affecting the Success in putting the Policy of Good Country Government into practice: A Case Study of Local Administrative Organization. Master of Public Administration in Public Policy, Graduate School, Srinagarinwirote University,
Leaupanya, Chanida. (2002). Participatory Model between School and Community in Developing the Learning Center of Sufficiency Economy Economy: A Case Study of Naka Sub-district, Wapeepatoom District, Mahasarakam Province. Master of Education Thesis in Educational Administration, Graduate School, Mahasarakam University,
Panich, Wijan. (2005). Knowledge Management: A Practitioner Issue. Tatata Publication Company: Bangkok:
Wasee, Prawed. (2004). Educational Reform based on Prof. Dr. Prawed Wasee’s Viewpoint Bangkok: Four Printing ltd,
Wattanachai, Kasem. (2003). Good Governance: An Important Role of School Boards. np.