ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยี ทางดีเอ็นเอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการ เรียนรู้และการสอนแบบปกติ

Main Article Content

พรรณี ภิบาลวงษ์
อุษา ทองไพโรจน์
บังอร แถวโนนงิ้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาและนักเรียนที่เรียนตามปกติ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนวิชาชีววิทยาโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 5 แผน โดยมีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.57 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 5 แผน โดยมีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.70 (3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.68 (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ถึง1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .40 ถึง .73 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉับเท่ากับ .89 และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนวิชาชีววิทยา มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .20 ถึง .77 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติทดสอบ t-test (Dependent Samples) และ t-test (Independent Samples)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 82.47/81.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้


2. ดัชนีประสิทธิผลของของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6766 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.66


3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนวิชาชีววิทยา โดยใช้ชุดกิจกรรมด้วยการเรียนรู้ชีววิทยา มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเหมาะสม สามารถช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดี ควรสนับสนุนครูให้นำ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Aumpai Kaenkangpu. (2010). The development of learning activities with knowledge of the inquiry Grade 5. Independent Study M.Ed. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Bonkua Khuhavat. (1999). Educational innovation. Bangkok: Prince of Srinakharinwirot University.

Bonchom Srisaard. (1998). Development of teaching. Bangkok: suweriyasan.

Bonchom Srisaard. (2010). Preliminary research. 8th Edition. Bangkok: suweriyasan.

Department. (2003). Learning the science of learning science. Bangkok: The Teachers’ Kurusapa ladprao.

Department of the Ministry of Education. (2008). Core Curriculum for Basic Education Curriculum 2551. Bangkok: Publisher conventional farmersof Thailand.

Mechat Srithang. (2009). Development of science and learning activities to ascertain the fifth stage Using a scientific process skills as a medium of food and drugs Grade 2. M.Ed Independent study. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Ministry of Education. (2010). Office of Academic Affairs and Educational Standards Commission Basic Education Core Curriculum for Basic Education CurriculumIn 2551. 3rd Edition. Bangkok: Publisher National Agricultural Cooperative Federation Thailand.

Noppakhun dangbon. (2009). Educational achievement and attitude toward science. Science of the two students who had been taught by. Science Activity Kits. Ph.D. Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Noppadon thawron. (2007). Development of scientific Using a series of learning activities Science on the species diversity of ferns in Thoen level Basic education at key stage 4. M.Ed. Thesis Lampang: Lampang Ratjaphat.

Ratchanon Tapard. (2009). Educational achievement and ability in science. Critical thinking skills of students at grade 4 has been taught using the. Development of scientific activity. M.Ed. Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Supanan Aketeeratham. (2009). Develop a series of learning activities on a strand Science Grade 1. M.Ed. Thesis. Lop Buri: Suranaree University of Technology.

Sombut Taireua. (2004). Teaching academic research study. Mahasarakham: Faculty of Education Mahasarakham University.

Sombut Taireua. (2010). Methodologies for the Humanities and Social Sciences. 4th edition. Faculty of Education Mahasarakham University.

Worrakit Watkaolarm. (1997). Instruction set. Khonkaen: Print Khonkaen University.