การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครพนม เขต 2

Main Article Content

ศราวุธ แวงธิสาร
ไพฑูรย์ พวงยอด
ชาญวิทย์ หาญรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (3) พัฒนาแนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan. ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .51-.92 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .93 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .55-.81 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .98 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การจัดลำ ดับความสำคัญความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ลำดับแรก คือ ด้านการทบทวนไตร่ตรองผล (3) แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษา พบว่ามีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฉลิมชาติ เมฆแดง. (2558). แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเอกชน.วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(ฉบับพิเศษ):171-179 ; ตุลาคม-ธันวาคม.

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำ หรับครูประถมศึกษา.ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยณัฐ กุสุมาลย์. (2560). แนวทางการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27.วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). ครู TPCK: ครูเก่งของไทย ในเหลียวหลังแลหน้า ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารประกอบการเสวนาการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 9(3): 397-401.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2562. นครพนม: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2559, 28 เมษายน). แนวทางการส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา. ประกาศสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

Almanzar, A. (2014). Impact of Professional Learning Community Practices on Morale of Urban High School Teachers. Doctor’s Thesis, Florida: Nova Southeastern University.

DuFour, R. (2004). What is professional learning community?. Educational Leadership, 61(8), 6-11.

Gilrane, C.P., M.L. Roberts and L.A. Russell. (2008). Building a Community in which Everyone Teaches, Learns and Reads: A Case Study. The Journal of Educational Research, 101(6): 333-351.

Leclerc, M. and others. (2012). Factors that promote Progression in Schools Functioning As Professional Learning Community. International Journal of Education Policy and Leadership, 7(7): 1-14 ; 10 December.

Wells, C. and L. Feun. (2007). Implementation of Learning Community Principles: A Study of Six High Schools. National Association of Secondary School Principals Nassp Bulletin, 91(2), 141-151.