การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26

Main Article Content

สันติ อุดตำ
มานิตย์ อาษานอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้ และ 3) พัฒนาแนวทางการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู จำนวน 337 คน และระยะที่ 3 วิเคราะห์ PNI Modified ศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม ร่างแนวทางการพัฒนาครู และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการ การนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 สามารถแยกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวางแผนการสอนแนะ มี 3 ตัวชี้วัด 2) ขั้นการเตรียมการสอนแนะ มี 3 ตัวชี้วัด 3) ขั้นปฏิบัติการนิเทศ มี 3 ตัวชี้วัด 4) ขั้นติดตามและประเมินผลการนิเทศ มี 4 ตัวชี้วัด


2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 พบว่า สภาพปัจจุบันในการจัดการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การติดตามและประเมินผลการนิเทศ 2) การวางแผนการนิเทศ 3)การเตรียมการนิเทศ 4)การปฏิบัติการนิเทศสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา ด้านการติดตามและประเมินผลการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน


3. แนวทางการจัดการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอนคือ1) ขั้นการวางแผนการสอนแนะ มี 4 แนวทางปฏิบัติ 2) ขั้นการเตรียมการสอนแนะ มี 8 แนวทางปฏิบัติ 3) ขั้นปฏิบัติการนิเทศ มี 5 แนวทางปฏิบัติ 4) ขั้นติดตามและประเมินผลการนิเทศ มี 7 แนวทางปฏิบัติ จากการประเมินกระบวนการดังกล่าวโดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ส่วนความเป็นไปได้มีความเป็นไปได้ในระดับมาก ยกเว้นรูปแบบและวิธีการพัฒนา ที่มีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2549). การพัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยงโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ คศ.ด. กรุงเทพฯ ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

เพ็ญวิภา พรหมสุวรรณ์ และคณะ. (2558). “อนาคตภาพของการนิเทศการศึกษาสำหรับสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2556-2565),” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(3): 90-100 ; กรกฎาคม-กันยายน.

ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์. (2559). “การพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นผู้สอนงาน (โค้ช) ที่ดี,” รวมบทความหัวหน้างานบริหาร. 5 มกราคม 2555. <http://www.adecco.co.th> 15 กุมภาพันธ์.

อัมมาร สยามวาลา และคณะ. (2554). “การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพทั่วถึง,” เอกสารประกอบการสัมมนาประจำปี 2554. 15 กุมภาพันธ์ 2555, 10 ตุลาคม 2558.