การพัฒนาแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

Main Article Content

วิทยา แสนแป้
รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 และ 3) พัฒนาแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดจำนวน 7 คน ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญเครื่องมือการวิจัย จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 314 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และระยะที่ 3 สถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร มี 9 ตัวบ่งชี้ 2) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ มี 8 ตัวบ่งชี้ 3) การจัดการเรียนรู้ มี 6 ตัวบ่งชี้ 4) การวัดและประเมินผล มี 6 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ 3) การวัดและประเมินผล 4) การจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ 3) การวัดและประเมินผล 4) การจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ


3. แนวทางการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ด้านการวิเคราะห์หลักสูตร มีการนำหลักสูตรไปใช้ให้ชัดเจน นิเทศ กำกับติดตาม มีการวางแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ สร้างความตระหนักในการออกแบบการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ จัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง สามารถจัดการเรียนการสอนได้ ฝ่ายวิชาการ มีการติดตามนิเทศผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการวัดและประเมินผล มีกระบวนการวัดที่หลากหลาย ตามสภาพความเป็นจริง และมีการนำผลการวัดมาวิเคราะห์ปรับปรุง และพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพ้อยท์.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

มณีรัตน์ อภิวัฒนวรรณ. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (24 มีนาคม 2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/ Login.aspx

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ขอนแก่น: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.(2557). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุพรรณี โสภี. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สุมิตรา แซ่โง้ว. (2559). การพัฒนาแนวทางพัฒนากระบวนการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608-609.