แนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

รจนา สุโพธิ์
ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์
พิมพ์พร จารุจิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความคาดหวังและความต้องการจำเป็น 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียน และ 3) ประเมินแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี มีขั้นตอนดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นเป็น 3 ระยะ ซึ่งในระยะที่ 2 การหาแนวทางการบริหารการจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี โดยการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 6 คน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการจำนวน 6 คนจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สร้างขึ้นจากผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในระยะที่ 1 โดยเลือกด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานวิชาการเป็นอันดับที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก นำไปจำแนกจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ตามประเด็น เอกสารที่เกี่ยวข้องวิธีการศึกษา ขอบเขตการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ความคาดหวัง และจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการชั้นเรียน ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ รวมทั้งสิ้น 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความคาดหวัง ในการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ ด้านสภาพปัจจุบัน และความคาดหวัง เท่ากับ 0.829 และ 0.960 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี มีความต้องการจำเป็นสามอันดับแรก ได้แก่ ลำดับที่ 1 ด้านบทบาทของครูในการจัดการ ชั้นเรียน (PNIModified = 0.204) ลำดับที่ 2 ด้านการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (PNIModified = 0.194) ลำดับที่ 3 ด้านนวัตกรรมการจัดห้องเรียน (PNIModified = 0.193)


ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 6 ท่าน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการจำนวน 6 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี มีทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบทบาทของครูในการจัดชั้นเรียน 2) ด้านการจัดบรรยากาศของห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข 3) ด้านรูปแบบการจัดห้องเรียน 4) ด้านการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5) ด้านการให้คำปรึกษาเพื่อการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 6) ด้านนวัตกรรมการจัดห้องเรียน 7) ด้านการจัดการแหล่งเรียนรู้ และ 8) ด้านรูปแบบการสอนที่สนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้ ผู้ให้ข้อมูลได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในรายละเอียดของแต่ละด้านให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนเอกชน สถานการณ์ปัจจุบันและความทันสมัยในด้านรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความเป็นพลวัต


ระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบประเมินแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นแบบประเมินแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี ด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article