แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน (3) ศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี และ (4) พัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน วิธีดำ เนินการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู 475 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ 3 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระยะที่ 4 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารงานวิชาการ มีความสอดคล้อง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพพึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี พบว่า มีการวิเคราะห์หลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการนิเทศติดตาม พัฒนาครู ด้านการวัดผลประเมินผลอยู่เสมอ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้ผลการเรียนไปในทางเดียวกัน นำผลการวัดและประเมินผลมาพัฒนาและปรับปรุง ส่งเสริมให้ครูทำวิจัย ผลิตสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา จัดงบให้เพียงพอต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย ตามความต้องการของผู้เรียน 4) แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประกอบด้วย องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (3) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (4) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ (5) การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการศึกษา (6) การวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา (7) การนิเทศการศึกษา และ (8) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
Downloads
Article Details
References
ทับทิม ปาเงิน. (2552). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอแม่สลวย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: เชียงราย.
วัชรินทร์ ปะมานะเก. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2558). รายงานผลการจัดสอบ O-NET. นครพนม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2560). บุคลากรประจำปีการศึกษา 2560. นครพนม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2558). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน).
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พุทธศักราช 2549. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2558). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). รายงานการวิจัยประเมินผลการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้เขตพื้นที่การศึกษา ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: สกศ.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2538). “การประเมินผลโครงการและแผนงาน” ในโครงการปรับปรุง ประสิทธิภาพการวางแผนและการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ป.สัมพันธ์พาณิชย์.
เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย และภีรภา จันทร์อินทร์ (17 กรกฎาคม 2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนน O-NET ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ , สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559, จาก<http://www.niets.or.th/index.php/research_th/download/67>.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.