การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20

Main Article Content

ประมวล ไชยโคตร
ฉลาด จันทรสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ และ 3) พัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาได้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 175 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 2) ศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ตรวจสอบและประเมินแนวทางการโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา (x̄ =4.73) และด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา (x̄ =4.51)


2. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา (x̄ =3.74) และด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา (x̄ =3.52) สภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา (x̄ =4.53) และด้านที่พึงประสงค์ในการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา (x̄ =4.46)


3. การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.96) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.94)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (255). การมีสวนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้องค์กรชุมชน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทรงรัตน์ ศรีสารคาม. (2553). กระบวนการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน: กรณีศึกษาโรงเรียนบานเม่นใหญ่ อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บรรเจิด มีกุล. (2555). การนําเสนอรูปแบบการนําแหลงเรียนรู้ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือการจัดการความรู้:จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สํานักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.

เอกภพ วันซ่วง. (2552). ศึกษาการมีสวนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

Fields, Deirdre D. (2002). “An Evaluation of the Taxas City ISD Altcmative LearningCenter,” Dissertation Abstracts International. 62(11): 3636-A ; May.

Keefe, David D. (2003). “A Case Study of the Effects of Texas,” Dissertation AbstractsInternational. 64(05): 1613-A ; November.