สภาพและปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

นงค์นุช ผลาเลิศ
ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์
พิมพ์พร จารุจิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหา การดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์การทำงานของผู้บริหารโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐของผู้บริหารโรงเรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและข้อเสนอแนะมีค่าความเชื่อมั่นดังนี้ สภาพจากการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เท่ากับ 0.95 และปัญหาจากการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับ 0.93 เก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปสำหรับผู้วิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยการแจกแจงความถี่ และหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อ และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทั้งสองแบบเห็นว่าสภาพการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทั้งสองประสบการณ์มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อยเหมือนกัน คือด้านการพัฒนาศูนย์การศึกษางานค้นคว้าวิจัยและผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐโดยรวมแตกต่างกัน แต่รายด้านพบว่าไม่แตกต่างกันสองด้านคือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและยกระดับทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนนอกนั้นแตกต่างกันทุกด้าน


2. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทั้งสองแบบเห็นว่าปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐพบว่าโดยรวมแตกต่างกันเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าไม่แตกต่างกัน 3 ด้าน คือ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และยกระดับทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักเรียน พัฒนาศูนย์การศึกษางานค้นคว้าวิจัย นอกนั้นแตกต่างกันทุกด้าน


3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะของผู้บริหารของการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสถานศึกษาควรลงระบบข้อมูลของสถานศึกษาให้เป็นปัจจุบันในโปรแกรมระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา (SMSS) มากที่สุด 2) ด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลควรจัดหาและบริการทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อครูและนักเรียนมากที่สุด 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนควรมีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนความต้องการของผู้เรียนมากที่สุด 4)ด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ครูใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนให้เพียงพอเพื่อส่งเสริมให้ใช้สื่อเทคโนโลยีการเรียนรู้มากที่สุด 5) ด้านการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและพัฒนาครูผู้สอน มีการยกระดับความรู้และทักษะบุคลากรภาครัฐ เพื่อสอดรับการทำงานในรูปแบบรัฐบาลมากที่สุด 6) ด้านการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปกครองและชุมชน โรงเรียนควรมีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศรวมถึงการเปิดโอกาสให้อาสาสมัครจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การบริหารงานให้มีความโปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้มากที่สุด 7) ด้านการพัฒนาความร่วมมือและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เชี่ยวชาญควรทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันโดยให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาศึกษาวิจัยในโรงเรียนมากที่สุด 8) ด้านการยกระดับทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษโดยให้ครูสามารถประยุกต์แผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมจริงในชั้นเรียนมากที่สุด 9) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่เข้าร่วมพัฒนาโรงเรียน โครงการส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่เพื่อริเริ่มที่พัฒนาผู้นำเยาวชน เช่น โครงการเกี่ยวกับกิจกรรมเข้าค่ายต่างๆ ในโรงเรียนหรือให้เวทีในการแสดงออกเพื่อพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำมากที่สุด 10) ด้านการพัฒนาศูนย์การศึกษางานค้นคว้าวิจัยคืองานค้นคว้าวิจัยไม่ใช่งานของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นงานองค์กรครูทุกคนโรงเรียนเป็นโรงเรียนแห่งการวิจัยครูทุกคนคือนักวิจัยและมีความสามารถทางการวิจัยทุกคนกระตุ้นให้เกิดการวิจัยทางการศึกษากับโรงเรียนของตนเองมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ณัฐพงษ์ เพราแก้ว. (2559). โครงการสานพลังประชารัฐ เอกสารประกอบคำบรรยาย ด้านการศึกษาและพัฒนาผู้นำ โรงเรียนประชารัฐ. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมอยุธยาแกรนด์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

ณัฐวดี จันทร์ศรจักร. (2555). สภาพการบริหารงานของโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2559). ประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทาง การดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560 จาก http://www.moe.go.th/.

ธรรมศักดิ์ นิติธรรม. (2556). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2559). ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2560 จาก http://www.thaiembdc.org.

พิธาน พื้นทอง. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา 10 ด้าน. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560 จาก http://www.pracharathschool.go.th.

ไพรินทร์ ชูโชติถาวร. (2559). สานพลังประชารัฐ.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เรื่อง ประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการดำเนินตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ. วันที่ 2-4 พฤษภาคม 2559. ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี.

วินัย บุญสินชัย. (2555). การดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนในฝัน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยร้อยเอ็ด.

ศุภชัย เจียรวนนท์. (2559). โครงการสานพลังประชารัฐ. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560 จาก http //www.thaigov.go.th/.

สำนักงานคณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2546). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

อุเทน ผากุมมา. (2557). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนดีประจำตำบลตามความคิดเห็นของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.