การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๑

Main Article Content

ทัศดาว โยงไทยสง
ไชยยศ เรืองสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2. ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 3. พัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ขั้นตอนการดำเนินงานจำแนกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 จำนวน 320 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ไก้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 26 ตัวชี้วัด


2. สภาพปัจจุบันการพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


3. แนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ด้านการประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรกับผู้เกี่ยวข้อง มีการกำหนดแผนการปรับปรุงหลักสูตรของสถานศึกษา และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตรต่อเนื่องเป็นระยะๆ จนถึงเมื่อมีการใช้หลักสูตรจริง แก่ผู้ปกครองและคณะกรรมการการศึกษาของโรงเรียน ชุมชน เกี่ยวกับจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง การจัดประสบการณ์เรียน โดยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การใช้เอกสารสิ่งพิมพ์ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์. กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อลีนเพรส.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ทัศณรงค์ จารุเมธีชน. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาครูและบุคลากรทางการศึกษา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ 1-2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2547). คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.

สันต์ ธรรมบารุง. (2527). หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

อรวรรณ คำยอด. (2555). สมรรถนะครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยศิลปากร.