การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 3) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 4) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำนวน 218 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยง ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ
ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 พบว่า มี 5 องค์ประกอบ 27 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 3 ตัวชี้วัด 2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ 7 ตัวชี้วัด 3) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6 ตัวชี้วัด 4) การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 7 ตัวชี้วัด และ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4 ตัวชี้วัด ซึ่งทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 พบว่า สภาพปัจจุบันของสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. วิธีการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 พบว่า วิธีการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู คือ การฝึกอบรม การทำงานเป็นทีม การศึกษาดูงาน
4. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ที่พัฒนาขึ้นได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน พบว่า โปรแกรมฯ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ระดับมาก และมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
4.1 โปรแกรมฯ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 6 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีดำเนินการ 5) เทคนิคและเครื่องมือ 6) การวัดและประเมินผล
4.2 ขอบข่ายเนื้อหาของโปรแกรมฯ แบ่งออกเป็น 3 ชุด ได้แก่ ชุดกิจกรรม 1 ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร ชุดกิจกรรม 2 ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และชุดกิจกรรม 3 ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีแนวการจัดกิจกรรม คือ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกันโดยการทำกิจกรรมกลุ่ม การระดมสมองและเน้นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง สำหรับเทคนิคและเครื่องมือ ได้แก่ เอกสารประกอบโปรแกรม ใบกิจกรรม และแบบประเมิน ส่วนการประเมินประกอบด้วยการประเมินก่อน ระหว่าง และหลังการพัฒนา โดยการประเมินตนเอง
Downloads
Article Details
References
กมลชนก ภาคภูมิ. (2556). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปกร.
กฤษณา ศรีสุข. (2558). “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดประเมินการ สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.” วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. 15(2): 75-84 ; กรกฎาคม-ธันวาคม.
แขก มูลเดช. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม: เรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. การวิจัยเชิงทดลองคณะคุรุศาสตร์ เพชรบูรณ์ ; มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
แขก มูลเดช. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม: เรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. การวิจัยเชิงทดลองคณะคุรุศาสตร์ เพชรบูรณ์ ; มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
จิตชิน จิตติสุขพงษ์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่องการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยใช้โรงเรียน เป็นฐาน สาหรับครูวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชะรอยวรรณ ประเสริฐผล. (2555). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นันทกา วารินิน. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำ แพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท มาตาการพิมพ์ จำกัด.
วีระชัย ศรีวงษ์รัตน์. (2559). แนวทางกาพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาอุดรธานี เขต 12. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สงกรานต์ พันธุ์พินิจ. (2558). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในที่ทำงานเพื่อพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานเอกชน. วารสารวิชาการ มรยสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.13(3): 137-151; กันยายน-ธันวาคม.
สุนทร บูระวัฒน์. (2558). การสร้างเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารในการประกันคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารช่อพะยอม. 26(2): 79-86; กรกฎาคม - ธันวาคม.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2559). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็สำคัญ ในสังกัดสำนักงานสถานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานวิชาชีพสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557-2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทย ให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สกศ.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร, หน้า 8-9.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2558). คู่มือการจัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนคนดีของแผ่นดิน”. กรุงเทพฯ: โรงเรียนองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
อนันต์ พันนึก. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการวิชิการบริหารกาศึกษา ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kennedy, P.W. and Dresser, S.G. (2005). Creating a Competency-Based Workplace, Benefits Compensation Digest. Dissertation Abstracts International. 64(02)