การพัฒนาแนวทางการสร้างความร่วมมือของกลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของความร่วมมือของกลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างความร่วมมือของกลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของความร่วมมือของกลุ่มงานมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำนวน 51 คน ขั้นตอนที่ 2 ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานเขตพื้นที่ที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการสร้างความร่วมมือของกลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของความร่วมมือของกลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการสร้างความร่วมมือของกลุ่มงาน พบว่า เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม การกำหนดข้อปฏิบัติในการประชุม การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือ การสร้างข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการตัดสินใจ การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสนองเหตุผลและความต้องการในการมีส่วนร่วม และการสร้างพันธสัญญาสู่เป้าหมายร่วมกัน
2. การพัฒนาแนวทางการสร้างความร่วมมือของกลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 พบว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ควรส่งเสริมให้ บุคลากรทุกกลุ่มงานมี 1) การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) การสนองเหตุผลและความต้องการในการมีส่วนร่วม 3)การสร้างพันธสัญญาสู่เป้าหมายร่วมกัน 4) การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม 5) การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือ 6) การกำหนดข้อปฏิบัติในการประชุม และ 7) การสร้างข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการตัดสินใจ
Downloads
Article Details
References
กนกอร สมปราชญ์. (2548). ความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา. รายงานการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฏฐพร ชินบุตร. (2554). ความร่วมมือเพื่อพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา: โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดวงทิพย์ วิบูลย์ศักดิ์ชัย. (2555). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นาฎพิมล คุณเผือก. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาดา ทาสีเงิน. (2558). แนวทางการสร้างความร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ รป.ม. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
รุ่งอรุณ ฒุณฑวุฒิ. (2553). แนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติในการพัฒนาการบริหารงาน: ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2552). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ. (ออนไลน์) [ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560];ได้จาก: http://www.pochanukul.com.
สมเกียรติ รอดผล. (2554). พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา.
สมหมาย เทียนสมใจ. (2556). รูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สยาม ใจบุญ. (2554). การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่นของโรงเรียนในอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทองกมล.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รายงานการวิจัยและพัฒนา รูปแบบกลไกลการส่งเสริมการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
อรัญญา นิทะทัมย์. (2553). การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1-7. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
อังคาร ชัยสุวรรณ. (2554). การพัฒนาความร่วมมือระหว่างสํานักการศึกษากับสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาของกลุ่มเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Plymouth State University. (2004). Area of Concern/Targets of Growth Indicators. Retrieved January 9 form http://www.plymouth.edu/educate/growth_indicators.