การแก้ปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3

Main Article Content

ชูชาติ รูปงาม
ดนิตา ดวงวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการแก้ปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการแก้ปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 3) เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ระยะที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ข้าราชการครู จำนวน 45 คน พนักงานราชการ จำนวน 35 คน และครูพิเศษ จำนวน 73 คน คน ได้มาโดยการเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan โดยใช้วิธีเลือกสุ่มแบบแบ่งชั้น คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 45 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น PNI modified ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) ความสอดคล้องขององค์ประกอบและตัวชี้วัดของการแก้ปัญหาการออกกลางคันโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่าได้ 5 องค์ ประกอบ 45 ตัวชี้วัด 2) สภาพปัจจุบันการแก้ปัญหาการออกกลางคัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) สภาพพึงประสงค์ในการแก้ปัญหาการออกกลางคัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) การแก้ปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี พบว่า มีการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา การพัฒนานักเรียน นักศึกษา มีการพัฒนาครูผู้สอน ตรวจประเมินเอกสารประกอบการสอนแผนการสอนนิเทศการสอนส่งเสริมครูเข้ารับการอบรมด้านการสอน มีการพัฒนาครูที่ปรึกษา การประชุมมอบหมายหน้าที่ครูที่ปรึกษาประจำกลุ่มนักเรียนนักศึกษา มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลายตามมาตรฐานวิชาชีพ 5) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชลกร ศรีขจรกิจ. (2552). บทบาทครูแนะแนวในการสรางความเข้มแข็งให้กับระบบการดูแลชวยเหลือนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. เชียงใหม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บรรเลง ศรนิล. (2548). รายงานการวิจัยเสนอทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี.กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ประจักษ์ เลขตะระโก. (2554). การศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพวังสะพุงต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษาปีการศึกษา 2554. รายงานการวิจัย.: วิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง.

วัชรี ตระกูลงามและคณะ. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วิทยานิพนธ์ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สํานักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา. (2556). คู่มือ โครงการการลดปัญหาการออกกลางคัน. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2552). ยุทธ์ศาสตร์การบริหารจัดการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

เอกบุตร อยู่สุข. (2552). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยการชีพพุทธมณฑล สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ คอ.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ.