การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูโดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน

Main Article Content

ชวลิต พาระแพน
ลักขณา สริวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูโดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการออกแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบขององค์ประกอบและตัวชี้วัดของการออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครู กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนมัธยมศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 27 กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครจซี่และมอร์แกนจำนวน 322 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูโดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการออกแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 มี 7 องค์ประกอบ 47 ตัวชี้วัด


2. สภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 ผู้เรียน พบว่าสภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


3. โปรแกรมพัฒนาครูโดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการออกแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ศึกษาปัญหา/ความต้องการผู้เรียน 2) กำหนดวัตถุประสงค์ 3) กำหนดเนื้อหา/สาระ 4) กำหนดยุทธศาสตร์ วิธีการสอน 5) กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อ 6) กำหนดวิธีวัดผลการเรียนรู้และประเมินผล 7) นำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุง จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญระดับความเหมาะสมของโปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ณัฏฐ์พิชา จันทร์ศรี และคณะ. (2558). ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา , 7(1), 103 -116.

พรหมธิดา พงศ์พรหมและวิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า. (2552). การวิเคราะห์การปฏิบัติงานด้านประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 7(1), 2012, 159 – 173.

ภานุพงศ์ วงค์น้อย และ นัฐจิรา บุศย์ดี. (2559). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยนิพนธ์ กศ.ม.,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). เอกสารแนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ของกระทรวงศีกษาธิการ “2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”แนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน.

Hord, S. M. (2004). Changing Schools through Professional Learning Communities. Learning Together, Leading Together. New York: Teachers College Press.