การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางในการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 และ 3) พัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 354 คน และระยะที่ 3 วิเคราะห์ PNIModified ศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม ร่างแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารสำหรับสถานศึกษา และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 16 ตัวชี้วัด โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมในการบริหารสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
3. แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). กรมวิชาการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
พิทักษ์ ดวงอาสงค์. (2558). สภาพความต้องการและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประยูร อัครบวร. (2552). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์ (1996) จำกัด.
ประวุฒิ ประภาสโนบล. (2554). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
วันชัย ภิบาล. (2558). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิงห์ณรงค์ วงค์ชัยเวช. (2557). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนมัธยมศึกษาในการบริหารแผนการศึกษาของแผนกศึกษาธิการและกีฬานครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว. วิทยานิพนธ์ รป.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุจิตรา เชื้อชัย. (2557). การศึกษาสภาพปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุรพล ชัยดวงศร. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนทุ่งใหญ่รัตนศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา): มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อัจฉราภรณ์ ทองทิพย์. (2557). สภาพปัจจุบันปัญหาและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมตามบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.