สภาพ และความต้องการจําเป็นในการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

Main Article Content

จุฑามาศ โสมมา
ไพฑูรย์ พวงยอด

บทคัดย่อ

การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่บุคคลผู้บริหารในสถานศึกษาเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมได้แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่จะบริหารสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา (2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวมจำนวน400 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .37 - .81 และค่าความเชื่อมันทั้งฉบับเท่ากับ .97 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .31 - .80 และค่าความเชื่อมันทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI Modified)


              ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า (1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกระจายอำนาจในการบริหาร  2) ด้านความอิสระในการปฏิบัติงาน และ3) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับ


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กัญวัญญ์ ธารีบุญ และนพดล เจนอักษร. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรัส อติวิทยาภรณ์. (2553). หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยาจังหวัดสุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ประสาร พรหมณา.(2553). การบริหารแบบมีส่วนร่วม รายงานประจำปี 2552 โรงเรียนบ้านพรหมนิมิตสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา สระแก้ว เขต 1. (อัดสำเนา).

ปาริชาต แก้วสาร, ลินดา นาคโปย และสายฝน เสกขุนทด. (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

มณฑาทิพย์ ศิริสุมทุม และคณะ. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(1), 1-12.

ฤทัยรัตน์ สิมปัญญา. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 299-213.

วิบูลอร นิลพิบูลย์. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(2), 135-146.

สายฝน เสกขุนทด. (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถาน ศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก. วารสารจันทรเกษมสาร, 27(2), 228-244.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สุรินทร์ แก้วมณี. (2558). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมขององค์คณะบุคคลเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวลักษณ์ บ่อเกิด. (2560). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี. [การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking claritythrough specificity. World Developments.

Elliont, D. C. (1994). Collaborative, decentralized management and perceptions of quality schooling outcome. Dissertation Abstracts International, 52(10), 125.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. McGraw – Hill.