การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

มานพ จิตแม้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ และ ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลท่าตูม จำนวนรวม 60 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ เข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นการปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นการสรุป ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวนและการนำ ไปใช้ ระดับความเหมาะสมขององค์ประกอบการจัดการแบบ Active Learning โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นการปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นการสรุป ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวนและการนำไปใช้ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นประโยขน์อยู่ในระดับมาก ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูด้านจัดการการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ ดังนี้ ขั้นที่ 2 ขั้นการปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นการสรุป ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวนและการนำไปใช้ และขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรรยา ดาสา. (2552). ความสุขในที่ทำงาน (Happy workplace). เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม, จาก http://www.il.mahidol.ac.th/th/images/stories/exchange/7-05-52_Column_6.pdf.

ธีระ รุณเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ:ข้าวฟ่าง.

ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2544). ความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ก. พลพิมพ์ (1996).

พิมพันธุ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). คู่มือดำเนินการพัฒนา หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ สำหรับครูและศึกษานิเทศก์. นครปฐม:สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.