การพัฒนาบุคลากรแบบสามเส้าเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น โรงเรียนบ้านห้วยไห อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและสภาพทั่วไปด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ 2) พัฒนารูปแบบสามเส้า (Triangulation Model) ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห 3) ทดลองใช้รูปแบบสามเส้า (Triangulation Model) ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห 4) ศึกษาความพึงพอใจผลการใช้รูปแบบสามเส้า (Triangulation Model) ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห 5) ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไห กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 3 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบประเมินสำหรับครูผู้สอน 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน 3) แบบบันทึกการนิเทศ 4) แบบสัมภาษณ์ 5) แบบสังเกต 6) แบบบันทึกผล 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการแจกแจงข้อค้นพบที่สำคัญเพื่อนำมาสรุปเป็นผลการศึกษาตามกรอบแนวคิดของการวิจัย การตรวจสอบข้อมูล และการนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาบริบทและสภาพทั่วไปด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ พบว่า อยู่ในระดับน้อย การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นยังไม่เป็นปัจจุบัน
2. ผลการพัฒนารูปแบบสามเส้า (Triangulation Model) ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบสามเส้า (Triangulation Model) ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห พบว่า ด้านกลยุทธ์หรือวิธีการพัฒนาบุคลากรด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยภาพรวมวิธีการพัฒนาบุคลากร 3 วิธีการมีความเหมาะสมมาก
4. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบสามเส้า (Triangulation Model) ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบสามเส้า (Triangulation Model) ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห โดยครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจรูปแบบสามเส้า (Triangulation Model) ที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูโรงเรียนบ้านห้วยไห โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไห เพิ่มสูงขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลรภัส เทียมทิพร และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้นสำ หรับโรงเรียนขนาดเล็ก. รายงานการวิจัย นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
กิ่งเพชร ส่งเสริม. (2552). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนแบบคละชั้นในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
จรรยา เรืองมาลัย. (2550). ‘‘การแก้ปัญหาในโรงเรียนขนาดเล็ก,” ในเอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและองศ์การยูนิเซฟ.
ธีระวุฒิ ประทุมนพรัตน์ และคณะ. (2532). การนิเทศภายในโรงเรียน. สงขลา: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา.
นงลักษณ์ สินสืบผล. (2540). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎธนบุรี.
นิรมล ตู้จินดา. (2557). การบริหารและการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล นบส.ศธ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
บรรจง ไชยรินคา. (2555). ปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการของโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
บุญชอบ ลาภเวช. (2556). การศึกษาการบริหารจัดการเรียนแบบคละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
พัฒนา สุขประเสริฐ. (2540). กลยุทธ์ในการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิพัฒน์ สอนสมนึก. (2553). การพัฒนาโมเดลการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สำหรับโรงเรียน ขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. หาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2545). “แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545”, ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 74 ก หน้า 16-21. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
โรงเรียนบ้านห้วยไห. (2559). รายงานประจำปีสถานศึกษา. ชัยภูมิ: โรงเรียนบ้านห้วยไห. สุรเสน ทั่งทอง. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบรวมชั้น. ม.ป.ท.: ป.ป.พ..
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540). การบริหารบุคคลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). คู่มือการบริหารจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียน ขนาดเล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). คู่มือการบริหารจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
หน่วยศึกษานิเทศก์. (2545). เอกสารความรู้ประกอบการพัฒนาบุคลากรปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ปี 2544. อุบลราชธานี: รุ่งศิลป์การพิมพ์ออฟเซต.
อเนก ส่งแสง. (2540). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษาคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
อรอุมา สุวรรณรัตน์. (2555). การศึกษาการบริหารจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโคกเจริญ จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
Stuart, S. (2006). Multiage Instruction and Inclusion: A Collaborative Approach. International Journal of whole schooling, 3(1).