ความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

รพีพล อินสุพรรณ
จิรัฐิติพร จำนงค์
สุธิดา แสนวัง
พีรดลย์ อ่อนสี
ประสาท เนืองเฉลิม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต 8 สาขาได้แก่จิตวิทยา 20 คน วิทยาศาสตร์การกีฬา 20 คน คณิตศาสตร์ 30 คน วิทยาศาสตร์ทั่วไป 39 คน การศึกษาปฐมวัย 36 คน ภาษาอังกฤษ 21 คน ภาษาไทย 42 คน และเทคโนโลยีศึกษาและคอมพิวเตอร์ 32 คน รวมทั้งหมด 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ ด้านวิชาการ ด้านการบริหาร และด้านกลุ่มเพื่อนอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างมโนภาพแห่งตนและสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาตามความรับรู้ของผู้เรียน. มหาวิทยาลัยนเรศวร

นันทพัทธ์ โนนศรีเมืองและ อำภาศรี พ่อค้า. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการศึกษากับแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1): 63-70.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มาริสา ธรรมมะ. (2545). ความพึงพอใจของนิสิตต่อสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศสระแก้ว. งานนิพนธ์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2533). บุคลากรนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริทอง ศรีสะอาด. (2544). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Nuangchalerm, P. and Dostál, J. (2017). Perception of preservice science teachers in the constructivist science learning environment. Chemistry: Bulgarian Journal of Science Education, 26(3): 332-340.