รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามแนวทางสถานศึกษา น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” สู่การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน โรงเรียนบ้านห้วยไห อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการ 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินงานตามโครงการ 3) ประเมินกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ และ 4) ประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานตามโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 24 คน และผู้นำ ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับศาสตร์พระราชาและนโยบายที่เกี่ยวข้อง 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการตามโครงการกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง 4) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรในชุมชนที่มีต่อโครงการ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) ค่าอำนาจจำแนก (t-test) และค่าความเชื่อมั่น (α - Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า โครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามแนวทางสถานศึกษาน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” สู่การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน โรงเรียนบ้านห้วยไห อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูประจำชั้น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โครงการส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ โครงการเพื่อนที่ปรึกษา และโครงการค่ายเยาชนห่างไกลยาเสพติด ในภาพรวมมีความเหมาะสมพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักเรียน พบว่า ด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ด้านการให้คำปรึกษา ด้านการใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา อยู่ในระดับมาก ด้านการเลือกคบเพื่อน ด้านการรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้านทักษะการปฏิเสธ ด้านการยอมรับตนเอง ด้านการรู้จักให้โอกาสคนอื่น อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและในชุมชนที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). 23 หลักการทรงงานในหลวงรัชกาลที่ 9. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2549). การบริหารโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
ปราโมทย์ ชัยศาสตรศิลป. (2558). การประเมินผลการดำ เนินงานของสถานประกอบกิจการตามมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ (มยส.) จังหวัดสระบุรี. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล นบส.ศธ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
ปวีณา ครุฑเผือก และคณะ. (2559). การประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบมาตรฐานระบบการต้านยาเสพติด (QAD) โรงเรียนประชาราษฎร์บําเพ็ญ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). เทคนิคการประเมินโครงการสำหรับสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). การประเมินผลโครงการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สถานีตำรวจภูธรคอนสาร. (2561). “สถิติการจับกุมและดำเนินคดีเกี่ยวกับยาเสพติด” งานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคอนสาร. ข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2561.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2556). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ.
อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2555). แนวคิดการประเมินโครงการ. เชียงใหม่: สำนักบริการวิชาการคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Rosati, J.A. (2000). The Power of Human Cognition in the Study of World Politics. International Studies Review.