การพัฒนาวิถีภูมิปัญญาครูไทยเพื่อเสริมสร้างการรับรู้จิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดวิถีภูมิปัญญาครูไทยที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรับรู้จิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการรับรู้จิตวิญญาณความเป็นครูทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรับรู้จิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 1012202 ความเป็นครู หมู่เรียนที่ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 44 คน ซึ่งมาได้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการรับรู้จิตวิญญาณความเป็นครู และแบบบันทึกการสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดวิถีภูมิปัญญาครูไทยที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรับรู้จิตวิญญาณความเป็นครูใช้แนวคิดของครูเครือข่ายมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย หลักการจัดประสบการณ์ทั้ง 5 คือ ครองใจให้ศรัทธา มอบวิชาให้เต็มที่ ทำดีให้เป็นตัวอย่าง คลำทางผู้เรียน ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย แนวคิด “ครูผู้ให้ของนักเรียนอย่างรอบด้าน เพื่อเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล” แนวคิด “ครูผู้มุ่งสร้างสติปัญญาและพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ” และ แนวคิด “ครูผู้นำเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้” 2) ผลการเปรียบเทียบการรับรู้จิตวิญญาณความเป็นครูพบว่า มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการจัดกิจกรรมตามแนวคิดวิถีภูมิปัญญาครูไทย โดยมีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 68.98 ร้อยละ 76.82 และร้อยละ 83.18 ตามลำดับ ซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่มีความรักศรัทธาและพัฒนาวิชาชีพครูสืบไป
Downloads
Article Details
References
ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2554). ประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู: การศึกษาเชิงปรากฎการณ์วิทยา. ปริญญานิพนธ์ วทด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี. (2560). การเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะ โดยเครือข่ายครูมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี. กรุงเทพฯ: จาทจุรีโปรดักส์.
วันทนีย์ นามสวัสดิ์ สิริวรรณ ศรีพหล และกัญจนา สินทรัตน์ศิริกุล. (2558). ผลการใช้จิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(57): 7-20.
วัลนิภา ฉลากบาง. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2): 123-128.
สจีวรรณ ทรรพวสุ. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาจิตวิญณาณความเป็นครูเพื่อส่งเสริมความเป็นครูวิชาชีพของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. วารสารราชพฤกษ์, 15(1): 1-10.
สิริรัตน์ นาคิน. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สรุปการดำเนินงาน 9 ปีของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ.2542-2551). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.