การปรับเปลี่ยนบทบาททางการศึกษายุคใหม่ของครูและผู้เรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
สังคมมีความเป็นพลวัต แปรผันสูง ส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในสังคมทุกมิติ รวมไปถึงระบบการศึกษา ครูซึ่งทำหน้าที่ในกลไกขับเคลื่อนการศึกษา จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน และพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ คุณธรรม จรรยา กริยาทั้งกาย และใจ อันจะนำตัวตนของครูที่แท้ไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู ด้วยความร่วมมือในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งครูและผู้เรียน มุ่งสู่การจัดการเรียนรู้เกิดคุณค่า มีความหมายต่อชีวิตอย่างเป็นองค์รวม อันเปี่ยมด้วยความสุขของครูและผู้เรียน อันเป็นหมุดหมายใหญ่ยิ่งที่เท่าทันต่อยุคสมัย ผู้คน และเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนบทบาทของครู และผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
Downloads
Article Details
References
จีราภรณ์ จันทร์โฉม และสุวิน ทองปั้น. (2563). ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมกับแนวคิดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20(2). 185-196.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาภัทร นิยม. (2558). คำศัพท์การศึกษาแบบองค์รวม. จาก http://img.roong-aroon.ac.th/publication/Holistic_bilingual.
ประหยัด พิมพา. (2562). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต ร้อยเอ็ด. 7(1). 242-249.
พระวิทูล สนฺตจิตฺโต, จรัส ลีกา, พระมหาสำรอง สญฺญโต และ พรปาลิน ไชยโสดาล. (2563). อัตถิภาวนิยมกับปัญหาการฆ่าตัวตาย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(4). 113-129.
พงษ์ธวัฒน์ บุญพิทักษ์. (ม.ป.ป.). สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1728.
วิเชียร ไชยบัง. (2562). วุฒิภาวะของความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 11. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. แพร่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่ไทยอุตสาหกรรมการพิมพ์.