สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ ในการทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 285 คน ได้มา โดยการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ทดสอบที และทดสอบเอฟ
ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1. ผลการศึกษาสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกิจการและกิจกรรมนักเรียน ด้านการพัฒนาวิชาชีพด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ด้านการบริหารสถานศึกษาด้านหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการ ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามตำแหน่ง วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สรุปได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ ศึกษานโยบายของรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดนโยบายวางแผนพัฒนาสถานศึกษา จัดองค์กรให้เหมาะสมในการดำเนินงาน บริหารหลักสูตรและกลยุทธในการจัดการเรียนรู้ให้สนองตอบความต้องการของผู้เรียน ใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา นิเทศติดตามตรวจสอบ การดำเนินงานของสถานศึกษา และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
Downloads
Article Details
References
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาตรี โพธิกุล. (2552). สมรรถนะผู้บริหารโรงรเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัชมา เทพวรสุข. (2553). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอมะขาม จังหวัดจันทรบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยณรงค์ คำภูมิหา. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2543). สาระสำ คัญของร่างพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency based learning. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สุทธิเทพ ช่อปทุมศิริกุล. (2559). ได้ทำการวิจัยเรื่อง สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์.
อนุเทพ กุศลคุ้ม. (2561). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
อุทัย ภักดีประยูรวงศ์. (2556). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. การศึกษาอิสระ กศ.ม. ขอนแก่น:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยของแก่น.