แนวทางการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5

Main Article Content

สุชัญญา ศรีสว่าง
วิทยา วรพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 294 คน แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ1) แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) รายข้ออยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ด้วยวิธีของครอนบราค เท่ากับ 0.67 2) แบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) รายข้ออยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และ 3) แบบประเมิน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) รายข้ออยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                         


 ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


 1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก


 2. แนวทางการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีแนวทาง 5 ด้าน ได้แก่ด้านความกระตือรือร้น ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านความมีเหตุผล ด้านมุ่งมั่นในการเรียนและด้านความรับผิดชอบ ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน พบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2543). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างเสริมคุณลักษณะเก่ง ดี มีสุข ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2544. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ กัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้. (2556). เปรียบเทียบความใฝ่รู้ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 12(2), 12-17.

ดวงฤทัย ราวะรินทร์. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิภา วงษ์สุรภินันท์. (2548). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนสําหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2559). สอนลูกให้มีทักษะชีวิต (Life Skill). [ออนไลน์]. ได้จาก: http://taamkru.com/th. [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562].

ยนต์ ชุ่มจิต. (2550). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอ.เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

วรัชยา วิเวก. (2551). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาครูของสถานศึกษาในอำเภอสว่างอารมณ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วัฒนา พาผล. (2551). การวิเคราะห์โครงสร้างสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย ดิสสระ. (2545). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิชาญ อัครวนสกุล. (2555). การใช้เวลาว่างที่ดีสำ หรับวัยรุ่น. วารสารวิชาการ, 5(11): 14–15.

วิลัยภรณ์ บุณโยทยาน. (2552). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการนิเทศน์แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (2557). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2557: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5.ขอนแก่น: สำ นักงานเขตพื้นการศึกษาการประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5.

อารยา สิงห์สวัสดิ์. (2551). เด็กติดเกมส์ ภัยร้ายโลกไซเบอร์. [ออนไลน์]. ได้จาก http://www.thaihealth.or.th/node/4118. [สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561].

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Fullan. M. and Hargreaves, A. (1992). The New Meaning of Educational Change. 2nd ed.London: Cassell.