ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

Main Article Content

รัฐพันธ์ ปัญญาเอก
โกวัฒน์ เทศบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) ศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 และ 3) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 394 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งขั้นตามขนาดของโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ แบบสอบถามสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)   


ผลการวิจัยพบว่า


1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 อยู่ในระดับมาก


2. สมรรถนะการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 อยู่ในระดับมาก


3. ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 4 ด้านคือ การคิดสร้างสรรค์ (X2) การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม (X3) การบริหารความเสี่ยง (X5) และการมีจริยธรรมและตรวจสอบได้(X4) ร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 ได้ร้อยละ 99.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบY´ = -0.062 + 0.448(X2) + 0.352(X3) + 0.168(X5) + 0.044(X4) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานZ´y = 0.633ZX2+ 0.372ZX3+ 0.265ZX5+ 0.056ZX4

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ข่าววงการศึกษา: การจัดการเรียนการสอนในยุคไทยแลนด์ 4.0. (ออนไลน์).แหล่งที่มา: https://www.moe.go.th/moe/th/news/.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฉันทนา บุญมาก. (2555). การศึกษาสมรรถนะของครูโรงเรียนอนุบาลชลบุรีตามความรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐวุฒิ ศรีสนิท และโกวัฒน์ เทศบุตร. (2563). ภาวะผู้นำ ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1): 20-30 ;มกราคม-เมษายน.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2551). จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพฯ:สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน.

ธาริณี จินดาธรรม. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเทศบาล 1 (เวียงเชียงแสน) สังกัดเทศบาลตําบลเวียงเชียงแสน อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารการศึกษามศว., 15(2): 21-23.

นิรันดร์ เนตรภักดี. (2553). ผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 (ช่วงชั้นที่ 3) เรื่อง ชุมชนของเรา: อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (สังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน.

บุญมาก ศิริเนาวกุล. (2556). ปฏิวัติการศึกษาโลก-โลกาภิวัตน์. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, พิเศษ(5): 9-11.

บุณรดา ทรงบุญศาสตร์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประยุทธ ชูสอน. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พยัต วุฒิรงค์. (2555). การจัดการนวัตกรรมจากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ เริงกมล. (2562ก). การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน: งานที่นักบริหารควรตระหนัก. วารสารพัฒนาการศึกษา, 25(1): 15-17.

สุพิชชา พู่กันงาม. (2559). การวิเคราะห์แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จังหวัดประทุมธานีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อรกาญจน์ เฉียงกลาง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 23(19): 9-12.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้บริหารเชิงนวัตกรรม. วารสารสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 45(34): 9-14.

อุทัย เถาว์พันธ์. (2557). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสัตตบงกช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Robinson, K. (2014). Problems of Education in the World have Fallen. New York:Penguin Group.