การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดรูปแบบวงล้อการแก้ปัญหา TASC เรื่อง ปัจจัยในการดำรงชีวิตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

นงคราญ กันยุตะ
ปริญา ปริพุฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดรูปแบบวงล้อการแก้ปัญหา TASC ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดรูปแบบวงล้อการแก้ปัญหา TASC 3) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ปัจจัยในการดำรงชีวิตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวคิดรูปแบบวงล้อการแก้ปัญหา TASC กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนเตรียมบัณฑิต จำนวน 38 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 ชุด รวมใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 12 ชั่วโมงและแบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบจำนวน 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดรูปแบบวงล้อการแก้ปัญหา TASC มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.32/81.12 ซึ่งเท่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) ค่าดัชนีประสิทธิผล ของชุดกิจกรรมเท่ากับ 0.7092 (3) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม ตามแนวคิดรูปแบบวงล้อการแก้ปัญหา TASC พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 78.47 ซึ่งอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ยิ้มรมัย พลศรี. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนการสอน หน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวงล้อแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์. 5(1): มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ศิรินภา ชิ้นทอง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เรื่องปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ.(2557). Active Learning การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Davies, Helen-Marie. (2008). On Overview of an Investigation into the Effects of Using TASC Strategies in the Development of Children’s Thinking and Problem Solving Skills in Science. Gifted Education International, 24(2/3): 305-214.

Goddard, H. (2008). School in Focus Celebrating Success. Gifted Education International, 24(2-3): 285-287.

Wallace, B. and Harvey, A. (1993). The ‘Thinking Actively in a Social Context’ TASC Project: Developing The Potential of Children in Disadvantaged Communities. Oxford: AB Academic Publishers.

Wallace, B. (2001). Teaching Thinking Skills Across the primary Curriculum A Practical Approach For All Abilities. Great Britain: David Fulton.