การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 331 คน ได้มาโดยวิธีการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน พบว่า ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม มีความต้องการมากที่สุดรองลงมาคือ ด้านการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน และด้านการติดต่อสื่อสาร ตามลำดับ
2. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายของโปรแกรม 2. วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3. เนื้อหา 4. วิธีการพัฒนา แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 4.1 การเรียนรู้ด้วยตนเองตาม Module แบ่งออกเป็น 5 Module 4.2 การเรียนรู้โดยทำงานร่วมกับบุคคลอื่น และ 4.3 การบูรณาการสอดแทรกการเสริมสร้างสมรรถนะในสถานศึกษาของตนเอง รวมทั้งสิ้น 90 ชั่วโมง และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน พบว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
ศิตารีย์ สุขบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไท คำล้าน. (2551). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำทางสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนิตา สิงห์บุญมี. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2554). คู่มือหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงาน. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ:จุดทอง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). สมรรถนะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(พ.ศ.2551-พ.ศ.2555). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2544). ภาวะความเป็นผู้นำ . กรุงเทพฯ: เอ็ซเปอร์เน็ท.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 3(30), 607–610.