การพัฒนาความสามารถด้านการแต่งโคลงสี่สุภาพโดยใช้แผนที่ความคิด ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือทางเฟซบุ๊ก (Facebook)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบความสามารถทางการเรียนเรื่องการแต่งโคลงสี่สุภาพระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3. ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้การสุ่มเป็นหน่วยห้อง
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการแต่งโคลงสี่สุภาพ มีประสิทธิภาพ 86.93/83.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ความสามารถทางการเรียนเรื่องการแต่งโคลงสี่สุภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการแต่งโคลงสี่สุภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.45 อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เฉลียว รัชวัฒน์. (2546). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการสอนคณิตศาสตร์ด้วยการสอนแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน. นครสวรรค์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วนิดา ทัศภูมี. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการแต่งโคลงสี่สุภาพโดยใช้แผนภูมิความคิดประกอบการสอนแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อออนไลน์. มหาสารคาม: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณกร หมอยาดี. (2544). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วันเพ็ญ บุญชุม. (2542). ผลการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบซีไออาร์ซีที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สงขลา.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2558). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิรัช ศิริวัฒนะนาวิน และสุรีรัตน์ ทองคงอ่วม. (2545). กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6) เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ประสานมิตร, 2545.
ศิริพร ทุเครือ. (2544). ผลของการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สมเดช บุญประจักษ์. (2540). การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. (2559). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, กรุงเทพฯ.
Gillies, R. M. (2002). The residual effects of cooperative-learning experiences: A two-year follow-up. The Journal of Educational Research, 96(1): 15-20.
Martin, Rose Lawson. (2006). Effects of Cooperative and Individual Integrated Learning System on Attitudes and Achievement in Mathematics. Dissertation Abstracts Internation, 66(09): 3201-A.
Vaughan, W. (2002). Effects of cooperative learning on achievement and attitude among students of color. The Journal of Educational Researc, 95(6): 359-364.