การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการประเมินผลตามสภาพจริง โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

มานพ จิตแม้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริงของโรงเรียนเทศบาลท่าตูม 3) ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง 4) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม 5) ทดลองใช้โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลท่าตูม จำนวนรวม 60 คน


กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ผู้บริหาร และครู สังกัดโรงเรียนต้นแบบ 3 โรงเรียน จำนวนรวม 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ ปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมี


1. องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการประเมินผลตามสภาพจริง ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน พบว่า โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


2. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


3. วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง ที่ได้จากการศึกษาสถานศึกษาต้นแบบ 3 แห่ง ได้แก่ การฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การศึกษาด้วยตนเอง การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม การนิเทศภายใน และการฝึกปฏิบัติ


4. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) โครงสร้างของโปรแกรม 4) ระยะเวลาดำเนินโปรแกรม 5) คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโปรแกรม 6) เนื้อหาโปรแกรม 7) เอกสารและสื่อที่ใช้ 8) กิจกรรมโปรแกรม 9) วิธีการดำเนินกิจกรรม 10) การประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด


5. ผลการทดลองใช้โปรแกรมโดยผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลท่าตูม ซึ่งเป็นสถานที่ทดลองใช้โปรแกรม พบว่า ผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมอยู่ในระดับมาก 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

บุหงา คงราช. (2560). การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Wiggins, G. (1989). A ture test : Toward More Authentic and Equitable Assessment. Phi Delta Kappa, 70(9), 703-713.