การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 (กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยไห อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ)

Main Article Content

วรรษภรณ์ ินิตยกุลเศรษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 3) ศึกษาวิธีการพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 4) พัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 5) ทดลองใช้และประเมินผลการทดลองใช้ระบบบริหาร จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก การวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 234 คน จาก 60 โรงเรียน ระยะที่ 3 ศึกษาวิธีการพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารและครู จำนวน 6 คน จากโรงเรียนต้นแบบ 2 โรงเรียน ระยะที่ 4 พัฒนาระบบและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบ ใช้แบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 5 ทดลองใช้และประเมินผลการทดลองใช้ระบบ ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม แบบประเมินผลระบบ และแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และหาค่าความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางสำ หรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 24 องค์ประกอบย่อยผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 มีสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและมีสภาพที่พึงประสงค์โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) วิธีการพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก คือ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม การฝึกอบรม การนิเทศภายใน การให้คำปรึกษา การกระจายอำนาจ และการปฏิบัติงานโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA 4) พัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 24 องค์ประกอบย่อย ผลการประเมินระบบโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 5) ผลการทดลองใช้ระบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ผลการประเมินระบบโดยรวมมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ฑิฆัมพร บุญมาก. (2558). การพัฒนาระบบพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

โรงเรียนบ้านห้วยไห. (2560). รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2559. ชัยภูมิ: โรงเรียนบ้านห้วยไห.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2548). การสังเคราะห์การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศต่างๆ . ปทุมธานี: เอกสารประกอบการประชุมโครงการสัมมนาวิจัย.

Lunenburg, F. and Ornstein, A.C. (1996). Education Administration: Concepts and Practices. 2nd ed. New York: Wadsworth Publishing.