การศึกษาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

วลัญชพร ทุ่งสงค์
ลักขณา สริวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลในระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำแนกตามเพศ, ผลการเรียน และรายได้ของครอบครัว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระดับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัล จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 322 คน ที่ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test for Independent samples และ One-Way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า ความฉลาดทางดิจิทัลในระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลทั้งโดยรวมและจำแนกตามเพศ, ผลการเรียน และรายได้ของครอบครัว-ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับดี และผลการเปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลในระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัล จำแนกตามเพศ, ผลการเรียน และรายได้ของครอบครัวพบว่าไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ. (2560). ค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของสามเณร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2): 43.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

กฤตย์ยุพัช สารนอก และปณิตา วรรณพิรุณ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ เอเวอรี่ธิง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับพลเมืองดิจิทัล. วารสารวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 7(1): 23.

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุพร จันทร์ทิพย์วารี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ พย.ม., สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิติยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2): 1631.

ปณิตา วรรณพิรุณ, และนำโชค วัฒนานัณ. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 29(102): 115.

ปิยะ ตัณฑวิเชียร. (2555). รายงานผลการใช้อินเทอรเน็ตในประเทศไทย 2555. ค้นข้อมูล 14 เมษายน 2661,จาก http://www.it24hrs.com/2012/thailand-internet-user-2011/

พงษ์พิศ พลศรี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิพัฒน์พงศ์ เข็มปัญญา. (2556). พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลเมืองนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ฉบับพิเศษ: การประชุมพยาบาลครั้งที่ 25.

พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์. วิทยานิพนธ์ วศ.ม., กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรานนท์ อินทนนท์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence). ปทุมธานี: บริษัท นิชชาวัฒน์ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนสารคามพิทยาคม. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2561, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata view_student.php?School_ID=1044410580andArea_CODE=101726

สุริมล วงศ์สิงห์ทอง และคณะ. (2552). วิกฤตสังคมไทย : แนวทางป้องกันภัยเยาวชนจากการใช้อินเตอร์เน็ตในที่พักอาศัย. วารสารร่มพฤกษ์, 27(2): 39-73.

Lyons, R. (2012). Investigating Student Gender and Grade Level Differences in Digital Citizenship Behavior. Retrieved January 31, 2019, from https://search.proquest.com/pqdtglobal/docview/1038378905/4B4843CE49F14 160PQ/1?accountid=50152.

Moll, R. (2016). Digital Citizenship: Student Perceptions of the Effectiveness of a Digital Citizenship Intervention. Retrieved January 31, 2019, from https://viurrspace.ca/bitstream/handle/10613/2987/FINALSMUKHIJA_THESIS.pdf?sequence=1andisAllowed=y.

Yuhyun, Park. (2016). 8 Digital Skills We Must Teach Our Children. Retrieved December 1, 2018, from https://www.weforum.org/agenda/2016/06/8-digital-skills-we-mustteach-our-children.