ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาปัจจัยและระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 16 คน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการเขียนคู่มือปฏิบัติงานและการทำวิจัย ของบุคลากรสายสนับสนุน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนคู่มือปฏิบัติงานและการทำวิจัยเพื่อให้บุคลากรมีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน และการทำวิจัย 2) การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) จัดกิจกรรมให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) เป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานและการวิจัยเพื่อพัฒนางาน และพัฒนาหน่วยงาน และ 3) การนิเทศภายในเพื่อกำกับติดตามการเขียนคู่มือปฏิบัติงานและการทำวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินโครงการ/กิจกรรม แบบสังเกตแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยและระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร สายสนับสนุน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า
1.1 บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย โดยส่วนรวมมีสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับคือ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม ด้านการทำ งานเป็นทีม ด้านการบริการที่ดี และมีสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ
1.2 บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย โดยส่วนรวม มีปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับคือ ด้านความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านความมั่นคงก้าวหน้า
ในงาน ตามลำดับ
1.3 บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานทั้ง 5 ด้าน โดยมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านความมั่นคงก้าวหน้าในงานเป็นอันดับต้น และควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และความก้าวหน้าในสายอาชีพที่สูงขึ้นอย่างเห็นเป็นรูปธรรม เช่น จัดกิจกรรมให้ความรู้ หรืออบรมเชิงปฏิบัติการด้านการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน การทำวิจัย เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น และเพื่อความก้าวหน้าที่สูงขึ้น ระยะที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการเขียนคู่มือปฏิบัติงานและการทำวิจัย ของบุคลากรสายสนับสนุน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบ พบว่า
2.1 บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยรวม และความรู้การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน และการทำวิจัยหลังจากการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากที่สุด และค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ ความรู้ด้านการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน และความรู้ด้านการทำวิจัยจากงานประจำ (R2R)
2.2 ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) และการนิเทศภายใน เพื่อการกำกับติดตามการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการเขียนคู่มือปฏิบัติงานและการทำวิจัยของบุคลากร บัณฑิตวิทยาลัย พบว่า บุคลากรมีการดำเนินการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานทุกคน บุคลากรส่วนใหญ่มีหัวข้อในการทำวิจัย จำนวน 15 คน มีบุคลากรมีผลงานอยู่ระหว่างยื่นขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น จำนวน 2 คน และมีบุคลากรสามารถยื่นขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นจากระดับปฏิบัติการ เป็นระดับชำนาญการ จำนวน 1 คน โดยสรุป การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรควรมีการส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยด้านความมั่นคงก้าวหน้าในงานเป็นสำคัญ โดยบุคลากรควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านความรู้ความเข้าใจในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และความก้าวหน้าในสายอาชีพที่สูงขึ้นอย่างเห็นเป็นรูปธรรม
Downloads
Article Details
References
กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2544). คู่มือหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการประเมินผลการปฏิบัติงานในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์, 2554.
กัทลี ศักดาคำ . (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
คมกริช เสาวิจิตร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ บธ.ม.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ธาริณี อภัยโรจน์. (2544). การศึกษาสมรรถนะหลักเพื่อการพัฒนาบุคลา: กรณีศึกษา สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. นครนายก: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เนาวรัตน์ แย้มแสงสังข์. (2542). แนวคิดและกลยุทธ์ในการปรับระบบองค์การ. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
พรชนก เกตุกัณฑร. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ และสมรรถนะหลักของเทศบาลนครนนทบุรี.วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพิ่มพูน พงษ์พวงเพชร. (2560). การพัฒนาระบบการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงสำ หรับบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มลฑา พิทักษ์. (2554). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน สังกัดสำนักงานงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ บธ.ม.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
รุ่งเรือง สิทธิจันทร์. (2560). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดหนังสือขึ้นชั้นด้วยระบบสัญลักษณ์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาธนบุรี. (2530). พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำ ปี 2530. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาธนบุรี.
ศิริพร แย้มนิล. (2549). “Competency ในงานบริหารทรัพยากรบุคคล,” วารสารดำ รงราชานุภาพ,6(18): 5 ; เมษายน.
สุเทพ บุบผาคร. (2561). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียน.วิจัยสถาบัน หนองคาย: วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียน.
สำนักงาน ก.พ. (2549). วันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช 2549. กรุงเทพฯ: สำ นักงาน ก.พ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือการกำหนดความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะสำ หรับตำแหน่ง. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชุม ช่างจำกัด.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา.
Akida, Lesli Kissane-Long. (2012). Using Mentor-Coaching to Refine Instructional SupervisionSkills of Developing Principals. Doctor’s Thesis, California: University of California,Los Angeles.
Horton, S. (2000). Competency Management in the British Civil Service. The International Journal of Public Service Management, 13(4): 354-368.
Kemmis, S. and R. McTaggart. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press.