การศึกษาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลในระดับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำแนกตามเพศ, ระดับช่วงขั้น และผลการเรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์จากนักเรียนจำนวน 364 คน ที่ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test for Independent samples และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ความฉลาดทางดิจิทัลในระดับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์ทั้งโดยรวมและจำแนกตามตัวแปรเพศ, ระดับการศึกษา และผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับน่าพอใจ และผลการเปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลในระดับการใช้เทคโนดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนตามตัวแปรทั้งสามพบว่าไม่แตกต่างกัน
Downloads
Article Details
References
นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2): 1631.
ปณิชา นิติพรมงคล. (2554). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปณิตา วรรณพิรุณ และนำโชค วัฒนานัณ. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 29(102): 115.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2559). การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการและเส้นทางวิจัยที่ท้าทายในอนาคต. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 9(1): 15.
ลักษมี คงลาภ, อัปสร เสถียรทิพย์, สรานนท์ อินทนนท์ และพลินี เสริมสินสิริ. (2561). ความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).
วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล Digital Quotient. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิไลภรณ์ จิรวัฒนเศรษฐ์. (2560). เด็กยุคดิจิทัลภายใต้สังคมแห่งสื่อออนไลน์และการเรียนรู้ทางสังคม. วารสารอนาคตวิทยาทางการศึกษา. 1(1): 1-12.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนสารคามพิทยาคม. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2561, จาก https://data.boppobec.info/emis/schooldataview_student.phpSchool_ID=104441
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจการมีใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2561 (ไตรมาส 1).
เอกนฤน บางท่าไม้. (2558). สภาพการเรียนการสอนในการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Craft, A. (2012). Childhood in a Digital Age: Creative Challenges for Educational Futures. London: Accepted for Publication March.
Singh, A.P. and Dangmei, J. (2016). Understanding The Generation Z: The Future Workforce. India: Department of Business Management, Indira Gandhi National Tribal University.