การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม

Main Article Content

กชกร ศรีสงคราม
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารความเสี่ยง (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยง และ (3) พัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 155 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูผู้เกี่ยวข้อง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการบริหารความเสี่ยง มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60 -1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .65 -.92 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .98 ส่วนแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60 -1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .60 -.84 และ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .98 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารความเสี่ยงสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การจัดลำ ดับความสำคัญความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นของการดำเนินการบริหารความเสี่ยงลำ ดับแรก คือ ด้านกลยุทธ์ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เจริญ ศรีแสนปาง. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารความเสี่ยงทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์ .

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์ . (2551). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์สูตรไพศาล.

นฤมล สะอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

ปสุตา โอษฐ์จันทร์ศรี. (2556). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงด้านนโยบายและด้านกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

พันธุ์เทพ พัฒนจุรีพันธุ์. (2557). การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงสำหรับโรงเรียน เอกชน ประเภทสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พุฒิสรรค์ ศรีรัตนประชากูล. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เมธีนัณท์ วันดี , ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์ และสุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2559). การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วิวัฒน์ ตู้จำนงค์, เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต และพีระพงษ์ สิทธิอมร. (2560). “รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา,” วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 11(1): 82-92

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการจัดทำ ระบบการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ:สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. หน้า 1.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.