การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาของอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

จักรกฤษ ภิรมย์
กฤษกนก ดวงชาทม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาพอนาคตของการจัดการศึกษาในทศวรรษหน้าสถาบันอาชีวศึกษาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา Delphi Futures: EDFR) มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาของอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู จำนวน 316 คน และการประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษาของอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ รองลงมาคือ ด้านการจัดการอาชีวศึกษา และด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามลำดับ


2. การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาของอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า มีความเหมาะสม ร้อยละ 92.50 โดยด้านที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยมากที่สุด คือ ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ร้อยละ 94.40 รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ 93.78 และด้านด้านการจัดการอาชีวศึกษา ร้อยละ 85.52 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา. (2557). บทวิเคราะห์การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2554-2556). วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วุฒิชัย กปิลกาญจน์. (2559). การศึกษาเป็นหัวใจของชาติ เป็นการสร้างและพัฒนาเพื่ออนาคตของประเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาอาชีวศึกษา. (2557). การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ก). ปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการจัดการศึกษาเอกชนในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ข). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 –2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุรศักดิ์ สุทธิศรี. (2550). การบริหารตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.

Hawley. (2014). Development of the servant leadership assessment. Dissertation Abstracts International (UMI No. 3133544).

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

McCurtain. (2013). Leadership: Research Findings, Practice, and Skill. 5th ed. Boston: Houghton Miffin Company.