การศึกษาสภาพความเป็นจริงและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่องานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นจริงและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่องานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นและจัดเรียงลำดับความสำคัญในการพัฒนางานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจำนวน 379 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพความเป็นจริงและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่องานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พบว่า สภาพความเป็นจริง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่คาดหวัง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นและจัดเรียงลำดับความสำคัญในการพัฒนางานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พบว่า ค่าความต้องการจำเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง 0.17 ถึง 0.29 และจัดเรียงลำดับความสำคัญในการพัฒนางานทะเบียนนักศึกษา ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 คือ ด้านระบบการ ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ ลำดับที่ 2 คือ ด้านระบบการลงทะเบียนเรียน/เพิ่ม/เปลี่ยนกลุ่ม/ลดรายวิชา/ ถอนรายวิชา ลำดับที่ 3 คือ ด้านการบริหารจัดการ ลำดับที่ 4 คือ ด้านระบบระเบียนนักศึกษา และลำดับที่ 5 คือ ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานทะเบียน
Downloads
Article Details
References
จริยา สุดกระโทก ขนิษฐา วิชัยดิษฐ์ และณัฐภณ สุเมธอธิคม. (2552). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพมหานคร.
ชมนาด ม่วงแก้ว. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการใช้บริการงานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ บธ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ดารัณ แพลอย. (2556). ความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.
ฝ่ายทะเบียนนักศึกษา. (2556). ขอบข่ายงานและหน้าที่ฝ่ายงานทะเบียนนักศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ฝ่ายทะเบียนนักศึกษา. (2563). จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี (สถิตินักศึกษาปัจจุบัน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563, จาก ระบบ MIS
พัชรี ภูบุญอิ่ม. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการบริการของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ รป.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2555). หน่วยงานภายใน. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2563, จาก http://www.sut.ac.th/2012/content/detail
วรรณวิมล จงจรวยสกุล. (2551). ความพึงพอใจในการบริการของงานทะเบียนและวัดผล. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., วิทยาลัยราชพฤกษ์, กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์บริการการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2562). โครงสร้างการบริหารงาน. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2563, จาก http://web.sut.ac.th/ces/2018/?p=1212
สาวิตรี อดกลั้น. (2554). ความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาที่มีต่อการลงทะเบียนเรียนเพิ่ม-ถอน รายวิชา. ปัญหาพิเศษ วท.บ., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส.
Eric Schmidt & Jared Cohen. (2014). The New Digital Age: Reshaping the Future of People, Nations and Business. VIKALPA, 39(3): 141-142.
Krejice & Morgan, T. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 597-710.
Nisbet, R.A. (1969). Social change and history. New York: Oxford University Press.
Savitch, H.V. (2003). Does 9-11 Portend a New Paradigm for Cities?. Urban Affairs Review, 39(1): 103-127.