การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการประเมินทางเลือก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการประเมินทางเลือก ให้อยู่ในระดับความเข้าใจที่ถูกต้องสมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 29 คน โรงเรียนบ้านตาสุด ตำบลจะกง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 5 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการประเมินทางเลือกเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง จำนวน 10 แผนการเรียนรู้ เวลา 15 ชั่วโมงและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ แบบสัมภาษณ์นักเรียนแบบกึ่งโครงสร้างและแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่าหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการประเมินทางเลือกนักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจระดับมโนทัศน์ที่สมบูรณ์มากขึ้น ในขณะที่จำนวนนักเรียนที่มีความเข้าใจในระดับมโนทัศน์ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนบางส่วนและไม่มีมโนทัศน์ลดลง โดยมีจำนวนนักเรียนที่มีความเข้าใจระดับมโนทัศน์ที่สมบูรณ์ในวงจรปฏิบัติการที่ 1,2, 3, 4, และ 5 เป็นร้อยละ 27.58, 34.48, 41.38, 55.17, และ 62.07 ตามลำดับ
Downloads
Article Details
References
จตุพร พงศ์พีระ และประสาท เนืองเฉลิม. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงมโนมติที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารราชพฤกษ์, 15(3): 24-35.
ณัฐวุฒิ เสริมศรีพงษ์. (2561). การใช้รูปแบบการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ภายใต้สมมติฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมความเข้าใจธรรมชาติ เรื่องของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร, (3): 64-76.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปรมสิณี ช่างยา และประสาท เนืองเฉลิม. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1): 170-182.
ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2537). การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism) กับการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2): 111-119.
ลือชา ลดาชาติ. (2561). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันเพ็ญ คำเทศ. (2560). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์: ประเภทและเครื่องมือประเมิน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2): 54-64.
ศิรินภา ชิ้นทอง, และประสาท เนืองเฉลิม. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เรื่องปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1): 239-249.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (1 ตุลาคม 2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. เข้าถึงได้จาก คลังความรู้ SciMath: https://scimath.org/ebook-science/item/8923-2018-10-01-01-59-16.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research reader. Victoria: Deakin University Press.
McNeill, K.L. & Krajcik, J. (2006). Supporting Students’ Construction of Scientific Explanation through Generic versus ContextSpecific Written Scaffolds. the annual meeting of the American Educational Research Association. San Francisco.
Nuangchalerm, P. & Dostál, J. . (2017). Perception of preservice science teachers in the constructivist science learning environment. Chemistry: Bulgarian Journal of Science Education, 26(3): 332-340.
Prachagool, V. & Nuangchalerm, P. (2019). Investigating understanding the nature of science. International Journal of Evaluation and Research in Education, 8(4): 719-725.
Sampson, V. (2015, April 29). Evaluate Alternatives. Retrieved from scientific argumentation:
http://www.scientificargumentation.com/evaluate-alternatives.html
Sampson, V. & Gerbino, F. (2010). Two Instructional Models That Teachers Can use to Promote & Support Scientific Argumentation in the Biology Classroom. The American Biology Teacher, 72(7): 427-431.
Sampson, V. & Grooms, J. (2009). Promoting and Supporting Scientific Argumentation in the Classroom The Evaluate Alternatives Instructional Mode. The Science Scope, 33(1): 67-73.
Walker, J.P. & Sampson, V. (2013). Learning to Argue and Argument to Learn: Argument Driven Inquiry as a way to Help Undergraduate Chemistry Students Learn How to Construct Arguments and Engage in Argumentation During a Laboratory Course. Journal of Research In Science Teaching, 50(5): 561-596.