ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย

Main Article Content

ประกายแสง บุดสุรินทร์
ชัชจริยา ใบลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการบริหารงานงบประมาณ 2)ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานงบประมาณ และ 3) เพื่อหาแนวทางการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย จำนวน 201 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1)สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ตามลำดับ 2)ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย ลำดับ 1 คือด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ ลำดับ 2 คือด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา และลำดับ 3 คือด้านการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ และ 3)แนวทางการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย ได้ 7 แนวทาง โดยแนวทางที่มีความต้องการมากสุดคือ ควรมีการจัดทำกรอบระยะเวลาในการจัดทำและเสนอของบประมาณที่ชัดเจนในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณควรจัดสรรให้ทันต่อเวลาและตรงตามความต้องการของโรงเรียนการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษานั้นควรมีการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนการบริหารงานการเงิน งานบัญชี งานพัสดุและสินทรัพย์นั้น ควรมีการจัดอบรมให้ครูอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จีรนันท์ ทองอ่วม. (2560). การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2554). การงบประมาณหลักทฤษฎีและแนววิเคราะห์เชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เอมเทรดดิ้ง.

พิชญ์ษินี โฉมอัมฤทธิ์. (2553). การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณภายใต้การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รัตนา ศักดิ์ศรี. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2556). การบริหารงบประมาณสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิดทฤษฎีและปฏิบัติ. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สร้อยวสันต์ ศรีคำ แหง. (2554). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์ (1991).

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2550). มาตรการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องบริหารและการควบคุมทางการเงินของหน่วยงานรับตรวจขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ไอพี หะยีสาแม็ง. (2552). ปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.