การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ฐานพัฒน์ ปักการะเน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาล 2 “อิสาณธีรวิทยาคาร”เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t–test (Dependent)


ผลการวิจัยพบว่า


1. รูปแบบการเรียนการสอนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 6 องค์ประกอบ คือ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการเรียนการสอน ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน ซึ่งขั้นตอนการเรียน การสอนมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การดำเนินการค้นหา (S: Search) (2) ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (A: Acting) (3) ขั้นนำความรู้สู่การประยุกต์ใช้ (I: Implicating) และ (4) ขั้นสรุปความคิดรวบยอด (C: Concept) และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบมีค่าเฉลี่ย 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 ซึ่งมีความเหมาะสมระดับมาก


2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัญญารัตน์ โคจร และคณะ. (2554). “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง สารและสมบัติของสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,” วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2): 1-20.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชาการ. (2561). รายงานการประเมินตนเอง.โรงเรียนเทศบาล 2 “อิสาณธีรวิทยาคาร”.

วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพเส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: 3–คิวมีเดีย.

สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครู และนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

Joyce, Bruce, (2011). Marsha Weil and Emily Calhoun. Models of Teaching.

Mitchell, W.E. and T.F. Konalik. (1999). Creative Problem Solving. n.p.: Unpublished.

Reys, R.E. and others. (2003). Helping Children Learn Mathematics. New York: John Wiley & Sons.

Slavin, Robert E. (1990). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. New Jersey: Prentice-Hall.

Treffinger, D.J., S.G. (2005). Isaksen and K.B. Dorvol. Creative Problem Solving (CPS Version 6.1 TM) A Contemporary Framwork for Managing Change. Sarasofa: Center for Creative Learning and Creative Problem Solving Group.