การปรับพฤติกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอแนวคิดและวิธีการปรับพฤติกรรมของบุคคลโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นวิธีการทางจิตวิทยาประเภทหนึ่งที่นำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมมาใช้ในการเปลี่ยนบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ให้เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์ การปรับพฤติกรรมเป็นการนำแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นกระบวนการ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพ ความสามารถ ความเป็นตัวตนของตัวเอง และเพิ่มขีดของความสามารถในการควบคุมตนเองของบุคคลด้วยวิธีการปรับพฤติกรรมซึ่งประกอบด้วยเทคนิคต่างๆ ได้แก่การใช้การเสริมแรงทางบวก, การให้ข้อมูลย้อนกลับ, การใช้เบี้ยอรรถกร, การใช้การลงโทษ, การใช้การหยุดยั้ง และการควบคุมตนเอง และเทคนิควิธีการทั้งหมดนี้ใช้ได้ทั้งลักษณะของการปรับพฤติกรรมของบุคคลด้วยตนเอง และลักษณะของการให้บุคคลอื่นปรับพฤติกรรมให้ โดยมีขั้นตอนการปรับพฤติกรรมตามลำดับคือ 1) กำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย 2) รวบรวมและบันทึกข้อมูลเส้นฐาน 3) วิเคราะห์พฤติกรรม 4) กำหนดสิ่งที่มีศักยภาพเป็นตัวเสริมแรง 5) วางแผนและดำ เนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขผลกรรม และ 6) ประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินการปรับพฤติกรรม
Downloads
Article Details
References
ลักขณา สริวัฒน์. (2554). จิตวิทยาในชั้นเรียน. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
สมโภชน์ เอี่มมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Eddy, W.B. (1981). Public Organization Behavior and Development. Cambridge, Massachusetts:Winthrop Publishers, Inc.
Meichenbaum, D. (1977). Cognitive-behavior Modification: An integrative approach.New York: Plenum Press.
Mikulas, W.L. (1978). Behavior Modification. New York: Harper and Row.