แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

Main Article Content

ชนิกานต์ ทุมทุมา
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง 202 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าวิชาการเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) เสนอแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าวิชาการ จากสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี 3 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า1)สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมากสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและความต้องการจำเป็นดังนี้ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาด้านการเตรียมความพร้อมด้านการดำเนินการใช้หลักสูตร และด้านการนิเทศกำกับ ติดตามและประเมินผล2)แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลมีองค์ประกอบ 4 ด้าน 33 แนวทาง ผลการประเมินพบว่าความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จตุรงค์ ธนะสีลังกูร. (2563). ผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร รหัสวิชา 106613. สาขาวิชาการบริหาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ชาตรี มณีโกศล. (2560). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร Foundation of Curriculum Development เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา CI 2201 [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ฐิติภูมิ สุวรรณไตรย์ และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(2), 707-719. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/246483

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). หลักสูตรสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิไลวรรณ มาตเลิง และธัชชัย จิตรนันท์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.16(3), 48-63. https://so05.tci-org/index.php/rmuj/article/view/262763

สมทรง สิทธิ. (2561). การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development). ตักสิลาการพิมพ์

ศุภวารี สิงโสม และสินธะวา คามดิษฐ์. (2565). แนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้วงจรเดมมิ่ง สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 7(2), 242-254. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2304

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565. https://mkarea1.go.th/report/reportoperate-65/

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวรรณี ยหะกร และคณะ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน Curriculum

Development and Instructional media. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.