การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะ ที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูสังกัด อาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 234 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง
0.20-0.60 และมีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.91-0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูสังกัด อาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น พบว่า ด้านความคิดสร้างสรรค์
มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการแสวงหาความรู้ใหม่ และด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ
- โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) บทนำ 2) หลักการและเหตุผล
- วัตถุประสงค์ 4) ผู้เข้ารับการ พัฒนา 5) ระยะเวลาการพัฒนา 6) ขอบข่ายเนื้อหา 7) วิธีการพัฒนา8) กิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนา 9) การประเมินผล และการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กนกอร กวานสุพรรณ. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เพื่อ สร้างสรรค์ด้วยปัญญาและการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. วารสาร บัณฑิตศึกษา, 11(2), 1-13.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. จำกัด.
กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิด และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จุฑาทิพย์ ชนะเคน. (2559), การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2557). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
ธวัช แบขุนทด. (2560). ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูและพนักงานราชการ วิทยาลัยสารพัดช่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิวรรณ ไชยรัตน์. (2552). หลักการเขียนบทความทางวิชาการ. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www
sahavicha.Con/readnme.php?name=article&file=readarticle&id=65 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธุ์ 2563].
บุญเลิศ อ่อนกูล. (2545). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พสุ เดชะรินทร์. (2553). ความสำคัญของนวัตกรรมในการแข่งขันยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สิปรัชยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วัลลภ ปุยสุวรรณ์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิเชียร วิทยอุดม. (2550). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนวัชการพิมพ์.
วิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น. (2557). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2558. สระแก้ว: ฝ่าย
แผนงานและความร่วมมือ. วิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น.
ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). "องค์กรแห่งนวัตกรรม" ทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่, กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (2559). รายงานประจำปี 2559. ขอนแก่น. วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2559). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 117-128.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2560). ลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทของ 19
การศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(1), 163-175.
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.
Bessant, H. (2010). Exploring innovation. London: Berkshire.
Boone, E.J. (1992). Developing Programmer in Adult Education. New Jersey: Prentice.
Caffarella, R.S. (2002). Planning Programs for Adult Learners. San Francisco: Jossey bass.
Chuange, R. (2010). Innovation process. New York: Cambridge.
Keith, D. (2011). Motivative Innovation. Singapore: Green Giant Press.
Rothwell, W.J. and Cookson, P.S. (1997). Beyond Instruction: Comprehensive Program Planning for Business and Education. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.
Weiss, S.D. and Legrand, P.C. (20 11). Innovative Intelligence. Ontario: John Wiley & SonsCanada, Ltd.