การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3

Main Article Content

เวทิดา ศรีเดช
โกวัฒน์ เทศบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 2) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู อาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จำนวน 347 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน


ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการบริหารงานบุคคลของ ผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู เท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาและการบรรจุ และด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่  การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร และการให้ออก/พ้นจากราชการ 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ สภาพแวดล้อมการทำงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานหรือกลุ่มงาน และค่าตอบแทน 3) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาด้านด้านการสรรหาและการบรรจุ (X2) ด้านการพัฒนาบุคลากร (X4) ด้านการให้ออก/พ้นจากราชการ (X5) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน (X3) และด้านการวางแผนอัตรากำลัง (X1) ร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ได้ร้อยละ 32.00 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้


            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


            Y´ = 1.942  + .338X2 + .062X4 + .040X5 + .061X3 + .072X1


            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


            Z´y = .376ZX2 + .102ZX4 + .097ZX5 + .109ZX3 + .104ZX1

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. จันทบุรี : อนันตศิลป์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระเส็ง ปภสุสโร. (2554). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พหล ดีมาก. (2550). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการปฎิบัติตามมาตรฐานการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

พิชิต สุดโต. (2555). การศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี.

เพชร กล้าหาญ. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ. (2539). การจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มาราณี สัสดีวงศ์. (2554). ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1. การค้นคว้าอิสระ ค.ม. (การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

รณกฤต รินทะชัย. (2557). การศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

รุ่ง แก้วแดง. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

วราพร ช่างยา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยง การสนับสนุนจากหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในการทำงานกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. (การบริหารการพยาบาล). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา เหลนปก. (2560). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (ไสราษฎร์อุปถัมถ์). วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเชียร วิทยอุดม. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วิฑูรย์ สีแดง. (2553). ปัญหาการบริหารบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิวพร โปรยานนท์. (2554). พฤติกรรมของผู้นำและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความ สร้างสรรค์ในงานบุคลากรกรณีศึกษา องค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมพงย์ เกษมสิน. (2523). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุเทพ เท่งประกิจ. (2557). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะละ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม.

(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สุภาพร พิศาลบุตร และยงยุทธ เกษสาคร. (2549). การสรรหาและบรรจุพนักงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เอกสารและตำราสถาบันราชภัฎสวนดุสิต.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2557). พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.